คู่มือ การรายงานความยั่งยืน สำ�หรับบริษัทจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย Disclaimer เนื้อหาข้อมูลที่จะปรากฏต่อไปนี้ ถูกจัดให้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูล และเพื่อการศึกษาอ้างอิงเท่านั้น และเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยหรือผู้อนุญาตให้แก่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ถ้ามี) ซึ่งได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ การนำ�ไปใช้เพื่อ วัตถุประสงค์อื่น นอกจากที่ระบุไว้ข้างต้น รวมถึงเพื่อวัตถุประสงค์ในทางการค้า หากำ�ไรจะกระทำ�มิได้ ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่อาจรับรอง ความครบถ้วน ความถูกต้องเหมาะสม ความเป็นปัจจุบัน หรือความน่าเชื่อถือ ของเนื้อหาข้อมูล หรือการรับประกันผลที่จะได้รับจากการใช้เนื้อหาข้อมูลนี้ และขอปฏิเสธต่อความรับผิดใด ๆ ในความเสียหายที่เกิดจากการนำ�เนื้อหา ข้อมูลไปใช้ในทุกกรณี สารบัญ 01 หน้า 6 บทนำ� 02 หน้า 10 เกี่ยวกับ คู่มือฉบับนี้ 03 หน้า 16 แนวทาง การรายงาน ความยัง่ ยืน หน้า 22 04 องค์ประกอบ ของการรายงาน ความยั่งยืน หน้า 38 05 ตัวชี้วัด การดำ�เนินงาน ด้านความยัง่ ยืน (ESG Metrics) หน้า 50 06 ภาคผนวก เกี่ยวกับคู่มือฉบับนี้ 01 บทนำ� 6 7 บทนำ� การเปิดเผยข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และ โปร่งใส จะเป็นกลไกสำ�คัญที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่นและดึงดูดความสนใจของผู้ลงทุน โดยเฉพาะข้อมูลทางการเงิน (financial information) ที่แสดงถึงความสามารถในการ ทำ�กำ�ไรของธุรกิจ แต่การเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนในปัจจุบัน เนื่องจากธุรกิจต้องเผชิญกับความเสี่ยงและ ความท้าทายทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้น ข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงิน (non-financial information) เช่น วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ และปัจจัยความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลด้าน สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำ�กับดูแลกิจการ (Environmental, Social & Governance หรือ ESG) จึงเป็นข้อมูลจำ�เป็นสำ�หรับการตัดสินใจลงทุนที่นำ�มาพิจารณาประกอบ กับข้อมูลด้านการเงินของบริษัท ซึ่งจะช่วยให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้าใจถึงมุมมองของ การประกอบธุรกิจในมิติที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น อีกทั้งช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นต่อ ผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับศักยภาพในการดำ�เนินธุรกิจในระยะยาวด้วย ประโยชน์ของการรายงานความยั่งยืน 1. บริษัทมีข้อมูลด้าน ESG เพื่อตัดสินใจทางธุรกิจหรือพัฒนาองค์กร อีกทั้งเป็นโอกาส ที่จะดึงดูดผู้ลงทุนคุณภาพ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากการนำ�เสนอข้อมูลที่สะท้อน ความสามารถในการดำ�เนินธุรกิจระยะยาว 2. ผู้ลงทุนมีข้อมูลที่หลากหลายและเพียงพอสำ�หรับการตัดสินใจลงทุน 3. ผู้ประกอบวิชาชีพด้านหลักทรัพย์มีข้อมูลสำ�หรับวิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาส ของการลงทุนในธุรกิจที่มีการดำ�เนินงานด้าน ESG 4. ผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มอื่น ๆ เช่น หน่วยงานกำ�กับดูแล หรือผู้ประเมินด้านความยั่งยืน มีข้อมูลด้าน ESG เพื่อกำ�หนดนโยบายที่เกี่ยวข้องและส่งเสริมการดำ�เนินงาน ด้านความยั่งยืนของอุตสาหกรรมในภาพรวม 8 แนวปฏิบัติการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนในตลาดทุนไทย 1. แบบแสดงรายการข้อมูลประจำ�ปี/รายงานประจำ�ปี (แบบ 56-1 One Report)1 สำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำ�นักงาน ก.ล.ต.) กำ�หนดให้บริษัทจดทะเบียนเปิดเผยข้อมูลผลการดำ�เนินงานที่ครอบคลุมประเด็น สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำ�กับดูแลกิจการตลอดห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ 2. แนวปฏิบัติการรายงานความยั่งยืนสำ�หรับบริษัทจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดทำ�คู่มือการรายงานความยั่งยืนสำ�หรับบริษัทจดทะเบียน (Sustainability Reporting Guide) เพื่อให้บริษัทจดทะเบียนมีกรอบการรายงาน และตัวชี้วัดการดำ�เนินงานด้านความยั่งยืนที่ชัดเจน สอดคล้องกับความต้องการของ ผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ ตามบริบทของประเทศไทย 3. แนวทางการรายงานความยั่งยืนตามมาตรฐานสากล มาตรฐานการรายงานความยั่งยืนระดับสากลมีหลากหลาย เช่น GRI Standards, Integrated Report Framework, Recommendations of the Task Force on Climate-related Financial Disclosures (TCFD) เป็นต้น โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนตามมาตรฐานสากล ตามความสมัครใจ 1 ดูรายละเอียดเพิ่มที่ คู่มือจัดทำ�แบบแสดงรายการข้อมูลประจำ�ปี/รายงานประจำ�ปี (แบบ 56-1 One Report) 9 02 เกีย่ วกับ คูม่ อื ฉบับนี้ เกี่ยวกับคู่มือฉบับนี้ วัตถุประสงค์ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดทำ�คู่มือการรายงานความยั่งยืนสำ�หรับบริษัทจดทะเบียน (“คู่มือ”) ฉบับนี้ขึ้นเพื่อ 1. เป็นเครื่องมือการจัดทำ�รายงานความยั่งยืนตามแนวปฏิบัติที่ดี (best practices) สำ�หรับบริษัทจดทะเบียนเกี่ยวกับการรายงานความยั่งยืนทั้งในและต่างประเทศ 2. เป็นแนวทางการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนที่เป็น มาตรฐานเดียวกัน ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ข้อมูลหลากหลายกลุ่ม เช่น ผู้ลงทุน นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ หน่วยงานกำ�กับดูแล และผู้ประเมินด้าน ความยั่งยืน เป็นต้น คำ�แนะนำ�การใช้คู่มือฉบับนี้ 1. คู่มือฉบับนี้สามารถใช้อ้างอิงการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนตามแบบ แสดงรายการข้อมูลประจำ�ปี/รายงานประจำ�ปี (แบบ 56-1 One Report) ได้ 2. บริษัทสามารถเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนในประเด็นอื่น ๆ นอกเหนือจาก ที่คู่มือฉบับนี้กำ�หนดตามที่บริษัทพิจารณาแล้วว่าเหมาะกับบริบทของธุรกิจ 3. บริษัทที่รายงานตามมาตรฐาน GRI Standards แล้ว สามารถศึกษารายละเอียด และการเชื่อมโยงตัวชี้วัดด้านความยั่งยืน (ESG metrics) กับ GRI Standards และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ตามที่ปรากฏอยู่ในภาคผนวกของคู่มือ ฉบับนี้ 4. บริษัทสามารถใช้คู่มือฉบับนี้ร่วมกับเอกสารแนะนำ�ตัวชี้วัดด้านความยั่งยืน (ESG metrics) ตามกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อเพิิ่มคุณภาพการรายงานได้ตาม ความเหมาะสม 5. คู่มือฉบับนี้เป็นแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรายงานความยั่งยืน ไม่ใช่ข้อสรุปทาง กฎหมาย กฎระเบียบ หรือข้อบังคับของบริษัทจดทะเบียน 12 มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับคู่มือฉบับนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดทำ�คู่มือฉบับนี้ โดยพิจารณาจากความคิดเห็นของบริษัท จดทะเบียน ผู้ใช้ข้อมูล และข้อมูลจากมาตรฐานที่เกี่ยวกับการพัฒนาความยั่งยืน ทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ 1. มาตรฐานและแนวปฏิบัติการรายงานด้านความยั่งยืน - คู่มือจัดทำ�แบบแสดงรายการข้อมูลประจำ�ปี/รายงานประจำ�ปี (แบบ 56-1 One Report) - หลักการกำ�กับดูแลกิจการที่ดีสำ�หรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560 (Corporate Governance Code) - GRI Standards โดย Global Reporting Initiative - Integrated Report Framework โดย International Integrated Reporting Council (IIRC) - Recommendations of the Task Force on Climate-related Financial Disclosures (TCFD) - Sustainability Accounting Standards Board (SASB) - Carbon Disclosure Project (CDP) - SDG Compass: The guide for business action on the SDGs - WFE ESG Guidance and Metrics โดย World Federation of Exchanges - Model Guidance on Reporting ESG Information to Investors โดย UN Sustainable Stock Exchanges (SSE) initiative 13 เกี่ยวกับคู่มือฉบับนี้ - Measuring Stakeholder Capitalism: Towards Common Metrics and Consistent Reporting of Sustainable Value Creation โดย World Economic Forum (WEF) - คู่มือการรายงานด้านความยั่งยืนของตลาดทุนชั้นนำ�อื่น ๆ 2. ดัชนีและการประเมินด้านความยั่งยืน - การประเมินรายชื่อหุ้นยั่งยืน (Thailand Sustainability Investment: THSI) ของตลาดหลักทรัพย์ฯ - ดัชนีความยั่งยืนระดับสากล เช่น Dow Jones Sustainability Indices (DJSI), FTSE4Good Index Series, MSCI ESG Indexes เป็นต้น - ข้อมูลด้านความยั่งยืนของผู้ให้บริการข้อมูลระดับสากล เช่น Bloomberg, Sustainalytics เป็นต้น ใครควรใช้คู่มือฉบับนี้ 1. ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานของบริษัทจดทะเบียน คู่มือฉบับนี้เหมาะสำ�หรับบริษัทจดทะเบียนทุกขนาดในทุกอุตสาหกรรม เพื่อทำ�ให้ผู้บริหารเข้าใจและตระหนักถึงความสำ�คัญของข้อมูลด้านความยั่งยืน และเป็นแนวปฏิบัติ เพื่อเตรียมพร้อมจัดทำ�รายงานสำ�หรับผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เลขานุการบริษัท นักลงทุนสัมพันธ์ ฝ่ายบริหารความเสี่ยง ฝ่ายกลยุทธ์องค์กร ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล ฝ่ายพัฒนาเพื่อความยั่งยืน ฝ่ายสื่อสาร องค์กร เป็นต้น 14 2. นักวิเคราะห์ ผู้จัดการกองทุน และผู้ลงทุน คู่มือฉบับนี้ช่วยให้นักวิเคราะห์ ผู้จัดการกองทุน และผู้ลงทุนทราบถึงข้อมูลสำ�คัญ จากการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียน เพื่อนำ�ไปพิจารณา ประกอบการตัดสินใจลงทุนในธุรกิจที่มีการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี โดยคำ�นึงถึงประเด็น ความเสี่ยงที่ครอบคลุมด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม 15 03 แนวทาง การรายงาน ความยั่งยืน แนวทางการรายงานความยั่งยืน หลักการรายงานความยั่งยืน ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำ�หนดหลักการรายงานความยั่งยืนสำ�หรับบริษัทจดทะเบียน เพื่อส่งเสริมคุณภาพการรายงานที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้จัดทำ�และผู้ใช้ข้อมูล ดังนี้ 1. สำ�คัญ (material) บริษัทควรเปิดเผยข้อมูลประเด็นสำ�คัญด้านความยั่งยืนที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ องค์กรและความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย โดยนำ�เสนอเนื้อหาที่กระชับ ตรงประเด็น เข้าใจง่าย อีกทั้งหลีกเลี่ยงการเปิดเผยข้อมูลในปริมาณมาก ๆ แต่ไม่ตอบโจทย์ ความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล 2. ทันการณ์ (timely) บริษัทควรเปิดเผยข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและทันเหตุการณ์เพื่อแสดงให้เห็น ความคืบหน้าของผลการดำ�เนินงานอย่างสม่ำ�เสมอ 3. เชื่อถือได้ (reliable) บริษัทควรเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และปราศจากอคติ เพื่อให้ผู้ใช้ข้อมูล เกิดความเชื่อมั่นต่อข้อมูลที่บริษัทเปิดเผย 4. เปรียบเทียบได้ (comparable) บริษัทควรนำ�เสนอข้อมูลเชิงปริมาณ เพื่อแสดงถึงผลลัพธ์จากการดำ�เนินงาน ด้านความยั่งยืนของบริษัทได้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และสามารถเปรียบเทียบกับ คู่แข่งและธุรกิจอื่นในอุตสาหกรรมได้ด้วย 18 ขอบเขตการรายงานความยั่งยืน การกำ�หนดขอบเขตของข้อมูลการรายงานความยั่งยืน จะทำ�ให้บริษัทมีกรอบ ในการจัดทำ�เนื้อหาที่ชัดเจน ทำ�ให้เกิดความสะดวกในการรวบรวมข้อมูลและ เขียนรายงาน โดยบริษัทสามารถกำ�หนดขอบเขตเนื้อหาตามที่บริษัทเห็นว่าเหมาะสม ได้โดยพิจารณาจากปัจจัย ดังนี้ 1. ลักษณะการประกอบธุรกิจ บริษัทสามารถกำ�หนดขอบเขตเนื้อหาจากธุรกิจหลักหรือบริษัทแม่ก่อน กรณีที่ มีบริษัทย่อยเป็นจำ�นวนมากหรือบริษัทที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้น (holding company) อาจกำ�หนดขอบเขตเนื้อหาจากธุรกิจที่มีสัดส่วนการถือหุ้นมากและ/หรือ มีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียก่อน เมื่อบริษัทมีความพร้อมในด้านการรายงานแล้ว จึงค่อย ๆ ขยายขอบเขตไปสู่ธุรกิจอื่นของบริษัท 2. พื้นที่การประกอบธุรกิจ บริษัทสามารถพิจารณาปัจจัยด้านพื้นที่ เพื่อกำ�หนด ขอบเขตเนื้อหาการรายงาน เช่น ระยะทางจากพื้นที่ หรือสถานที่ตั้งการประกอบธุรกิจ บทบาท ของผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ รวมถึงความเสี่ยง ด้านภูมิศาสตร์อื่น ๆ เช่น โรงงานตั้งอยู่ ในพื้นที่ประสบภัยแล้ง กรณีบริษัท ประกอบธุรกิจในหลายพื้นที่ อาจพิจารณาจากขนาดของพื้นที่ หรือสถานที่ตั้งด้วย 19 แนวทางการรายงานความยั่งยืน ขั้นตอนการรายงานความยั่งยืน การรายงานข้อมูลด้านความยั่งยืนไม่ใช่หน้าที่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในองค์กร แต่เป็น หน้าที่ของทุกฝ่ายในองค์กร เพื่อทำ�ให้การรายงานข้อมูลด้านความยั่งยืนของบริษัท เป็นระบบและมีคุณภาพมากที่สุด บริษัทควรมีแนวทาง ดังนี้ ขั้นตอน คำ�อธิบายแนวปฏิบัติ วางแผน - จัดตั้งคณะทำ�งานเพื่อรับผิดชอบในการจัดทำ�ข้อมูลและรายงานด้าน ความยั่งยืน - วางแผนงานและงบประมาณสำ�หรับการรายงานความยั่งยืน - กำ�หนดขอบเขตการรายงานจากข้อมูลห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ - สำ�รวจและวิเคราะห์ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย - วิเคราะห์และกำ�หนดประเด็นสำ�คัญด้านความยั่งยืน (material topics) ของบริษัทเพื่อเป็นเค้าโครงในการจัดทำ�รายงาน - กำ�หนดนโยบายและตัวชี้วัดการดำ�เนินงานด้านความยั่งยืนของบริษัท นำ�ไปปฏิบัติ - สื่อสารหรือจัดประชุมกับฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมรวบรวมข้อมูล สำ�หรับการรายงาน โดยบริษัทควรพิจารณาให้เป็นวาระหนึ่งในการติดตาม ผลการดำ�เนินงานตามกลยุทธ์องค์กร - รวบรวมและเก็บข้อมูลการดำ�เนินงานด้านความยั่งยืนที่สอดคล้องกับ เป้าหมายและตัวชี้วัดตามที่บริษัทกำ�หนด - เขียนและเรียบเรียงรายงานความยั่งยืน ตรวจสอบ - ตรวจสอบและกลั่นกรองความถูกต้องของข้อมูลด้านความยั่งยืน โดยฝ่ายงานภายในและ/หรือหน่วยงานภายนอก - นำ�เสนอข้อมูลหรือรายงานความยั่งยืนให้คณะกรรมการและผู้บริหาร ของบริษัทพิจารณาอนุมัติก่อนเผยแพร่สู่สาธารณะ - เผยแพร่ข้อมูลและรายงานความยั่งยืนผ่านช่องทางที่ผู้มีส่วนได้เสีย เข้าถึงได้ง่าย พัฒนาอย่างต่อเนื่อง - ติดตามและปรับปรุงผลการดำ�เนินงานของบริษัทอย่างต่อเนื่อง ภายหลัง จากที่มีการเผยแพร่ข้อมูลหรือรายงานความยั่งยืนและ/หรือได้รับ ข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสีย 20 การเผยแพร่ข้อมูลและรายงานความยั่งยืน 1. ช่องทางการรายงาน บริษัทสามารถกำ�หนดช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลและรายงานความยั่งยืนได้ หลากหลายช่องทาง เช่น เผยแพร่ข้อมูลด้านความยั่งยืนเป็นส่วนหนึ่งของรายงาน ประจำ�ปี (annual report) หรือแยกข้อมูลเป็นเอกสารเฉพาะ หรือรายงานความยั่งยืน (sustainability report) หรือเผยแพร่ข้อมูลบนเว็บไซต์ของบริษัท ทั้งนี้ บริษัทอาจเลือก ช่องทางใดช่องทางหนึ่งหรือหลากหลายช่องทาง แต่ต้องตระหนักถึงความสะดวก ในการเข้าถึงข้อมูลของผู้มีส่วนได้เสียเป็นสำ�คัญ 2. รูปแบบการรายงาน บริษัทควรคำ�นึงถึงพฤติกรรมการรับข้อมูลข่าวสารของผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม อย่างเหมาะสม เช่น ถ้ากลุ่มเป้าหมายนิยมบริโภคข้อมูลบนช่องทางออนไลน์ บริษัท อาจต้องจัดทำ�ไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น PDF, e-Book หรือ QR Code และเผยแพร่ ผ่านสื่อดิจิทัล หรือกลุ่มเป้าหมายบางส่วนอาจนิยมสื่อที่เป็นสิ่งพิมพ์ บริษัทอาจต้อง เผยแพร่ในรูปแบบเอกสารหรือหนังสือ เป็นต้น 3. เทคนิคการนำ�เสนอข้อมูล บริษัทควรนำ�เสนอข้อมูลเชิงปริมาณควบคู่ไปกับข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยภาษา ที่กระชับและเข้าใจง่าย เช่น การนำ�เสนอข้อมูลภาพ (infographic) แผนภาพ ตาราง หรือรูปภาพประกอบอย่างเป็นระเบียบ จะช่วยให้เกิดความน่าสนใจและสามารถจดจำ� ได้ง่าย ทำ�ให้เกิดประสิทธิภาพในการสื่อสารมากขึ้น 21 04 องค์ประกอบ ของการรายงาน ความยัง่ ยืน องค์ประกอบของการรายงานความยั่งยืน 4.1 ส่วนที่ 1: ข้อมูลพื้นฐาน บริษัทควรเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจในภาพรวม เพื่อให้ผู้ใช้ ข้อมูลเข้าใจในบริบทขององค์กรและกิจกรรมทางธุรกิจที่มีผลต่อผู้มีส่วนได้เสีย ขององค์กร ดังนี้ 4.1.1 ลักษณะการประกอบธุรกิจ อธิบายภาพรวมของวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และรูปแบบของการดำ�เนินธุรกิจ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมแก่บริษัทและผู้มีส่วนได้เสีย เช่น วิสัยทัศน์ โครงสร้างการประกอบธุรกิจ ลักษณะของสินค้าและบริการเงินทุน ทรัพย์สินทางปัญญา และกลยุทธ์องค์กร เป็นต้น 4.1.2 ห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ อธิบายลักษณะของกิจกรรมของธุรกิจที่นำ�ไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มตั้งแต่ต้นน้ำ� ถึงปลายน้ำ� ดังนี้ (1) กิจกรรมหลัก (primary activities) หมายถึง กิจกรรมทางธุรกิจที่เป็นปัจจัยก่อให้เกิดรายได้หรือต้นทุนของบริษัท ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ แหล่งทุน การผลิตสินค้าและบริการ การส่งมอบ และการรักษา ลูกค้า หากเข้าใจลักษณะของกิจกรรมหลัก บริษัทจะสามารถจัดสรรทรัพยากร ของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและคำ�นึงถึงประโยชน์ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งนี้ บริษัทสามารถนำ�เสนอข้อมูลดังกล่าวในรูปแบบต่าง ๆ ตามที่บริษัทเห็นว่าเหมาะสม และเข้าใจง่าย เช่น การบรรยาย แผนภาพ หรือรูปภาพ ประกอบด้วยข้อมูลของ กิจกรรม ดังนี้ 24 การบริหารปัจจัยการผลิต หรือโลจิสติกส์ขาเข้า (inbound logistics) กิจกรรมเกี่ยวกับการจัดหา การรับ การได้มา และการจัดการทรัพยากร ที่เป็นปัจจัยการผลิต เช่น ที่ดิน แรงงาน เงินทุน วัตถุดิบ กรณีเป็นสถาบัน การเงินอาจเพิ่มเติมแหล่งที่มาเงินทุนและการให้กู้ยืม เป็นต้น การปฏิบัติการ (operations) กิจกรรมเกี่ยวกับการแปรรูปปัจจัยการผลิตเป็นสินค้าและบริการที่ พร้อมส่งมอบให้ลูกค้า เช่น การผลิต การให้บริการ การบรรจุภัณฑ์ หรือ การตรวจสอบคุณภาพ เป็นต้น การกระจายสินค้าและบริการ หรือโลจิสติกส์ขาออก (outbound logistics) กิจกรรมเกี่ยวกับการจัดการคำ�สั่งซื้อ การขนส่ง การจัดจำ�หน่าย การจัดการ คลังสินค้า รวมถึงการจัดการข้อมูลที่เกี่ยวกับรายการสินค้าและบริการ เพื่อกระจายหรือส่งมอบสินค้าและบริการไปสู่ลูกค้า การตลาดและการขาย (marketing and sales) กิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาด เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจซื้อ ของลูกค้า ผู้รับบริการ หรือผู้บริโภค เช่น การกำ�หนดราคา การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ เป็นต้น การบริการหลังการขาย (customer services) กิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมความพึงพอใจหลังการขาย เพื่อแสดงถึง ความเอาใจใส่และทำ�ให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าและบริการ เช่น การบริการ ติดตั้งและตรวจเช็คสินค้า รวมถึงการรับประกันและซ่อมบำ�รุง เป็นต้น 25 องค์ประกอบของการรายงานความยั่งยืน (2) กิจกรรมสนับสนุน (support activities) หมายถึง กิจกรรมที่สนับสนุนให้กิจกรรมหลักบรรลุวัตถุประสงค์ ได้แก่ การจัดซื้อจัดจ้าง การพัฒนาเทคโนโลยี การบริหารทรัพยากรบุคคล และโครงสร้าง พื้นฐานอื่น ๆ เช่น การบริหารองค์กร ระบบบัญชีและการเงิน อาคารสถานที่ และระบบ สาธารณูปโภค เป็นต้น ภาพที่ 1 ตัวอย่างการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ กิจกรรมหลัก การบริิหาร การปฏิบัติการ การกระจาย การตลาด การบริการ ปัจจัยการผลิต สินค้าและบริการ และการขาย หลังการขาย ตัวอย่างการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าในกิจกรรมหลัก รักษาความต่อเนื่อง ลดเวลาในการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพ กำ�หนดราคา บริการหลังการขาย ในการดำ�เนินธุรกิจ ในการจัดการและ ที่เหมาะสม เพื่อเพิ่ม/รักษา ลดของเสีย ขนส่งสินค้า เป็นธรรม และ ความพึงพอใจ เพิ่มประสิทธิภาพ จากการผลิต สามารถแข่งขันได้ ของลูกค้า ในการจัดการ บริหารสินค้า และขนส่งวัตถุดิบ เพิ่มมูลค่าและ คงคลังให้มี บริหารแบรนด์ คุณภาพของสินค้า ประสิทธิภาพ ให้เป็นที่จดจำ� ของลูกค้า กิจกรรมสนับสนุน การจัดซื้อจัดจ้าง การพัฒนา การบริหาร โครงสร้าง เทคโนโลยี ทรัพยากรบุคคล พื้นฐาน 26 4.1.3 ผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท ผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholder) คือ บุคคล ชุมชน องค์กร หรือหน่วยงานที่อาจ ได้รับผลกระทบเชิงบวกและ/หรือเชิงลบจากกิจกรรมของธุรกิจ ดังนั้น การตอบสนอง ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องจะช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้าง ความพึงพอใจและลดความเสี่ยงจากกรณีพิพาทกับผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งนี้ บริษัทสามารถ นำ�เสนอข้อมูลดังกล่าวในรูปแบบต่าง ๆ ตามที่บริษัทเห็นว่าเหมาะสมและเข้าใจง่าย เช่น การบรรยาย แผนภาพ หรือรูปภาพประกอบด้วยข้อมูล ดังนี้ (1) กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย บริษัทควรระบุกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบจากการดำ�เนินธุรกิจ เช่น ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า หน่วยงานกำ�กับดูแล ชุมชน สังคม เป็นต้น โดยบริษัทอาจพิจารณาจากปัจจัยด้านความสัมพันธ์ บทบาท และอิทธิพลที่มีต่อธุรกิจ รวมถึงลักษณะเชิงพื้นที่และวิถีชุมชนที่อาจได้รับผลกระทบจากธุรกิจ ซึ่งเป็นประโยชน์ ต่อการกำ�หนดรูปแบบและแนวทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียอย่างเหมาะสม (2) ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย บริษัทควรอธิบายลักษณะความคาดหวังหรือความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย แต่ละกลุ่มโดยสังเขป เช่น กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ความคาดหวัง/ความต้องการ ผู้ถือหุ้น ความโปร่งใสของธุรกิจและผลตอบแทนจากการลงทุนที่สม่ำ�เสมอ พนักงาน ค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและความก้าวหน้าในอาชีพ ลูกค้า สินค้าและบริการที่มีคุณภาพและราคาเหมาะสม คู่ค้า การจัดซื้อจัดจ้างที่โปร่งใสและเป็นธรรม ชุมชน/สังคม การป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการสนับสนุนกิจกรรมของชุมชน 27 องค์ประกอบของการรายงานความยั่งยืน การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย ดังนั้น บริษัท ควรวิเคราะห์ให้เห็นถึงความเกี่ยวโยงกับธุรกิจ โดยอาจประเมินและวิเคราะห์ ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ผ่านกระบวนการรับฟัง ความคิดเห็น การสำ�รวจความพึงพอใจ การประชุม หรือช่องทางการมีส่วนร่วมอื่น ๆ จากนั้นนำ�ผลการรับฟังความคิดเห็นมาพัฒนาวิธีการการตอบสนองความคาดหวัง อย่างเหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงจากกรณีพิพาทหรือการคว่ำ�บาตรธุรกิจ เช่น การยุติการติดต่อซื้อขาย การถอนหุ้นออกจากบริษัท การลาออกของพนักงาน การชุมนุมประท้วงต่อต้านธุรกิจ เป็นต้น (3) การตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย บริษัทควรสรุปสาระสำ�คัญของวิธีการ หรือกิจกรรม หรือโครงการ รวมถึง ช่องทางการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ เช่น การสำ�รวจความคิดเห็นและ ความพึงพอใจ การจัดเวทีสานเสวนา เป็นต้น เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการมีส่วนร่วม อย่างต่อเนื่อง และความพยายามของธุรกิจที่จะตอบสนองความคาดหวัง/ความพึงพอใจ ของผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มอย่างเหมาะสม 28 ตารางที่ 1 ตัวอย่างการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับผู้มีส่วนได้เสีย กลุ่มผู้มี ความคาดหวัง/ ตัวอย่างการตอบสนอง ตัวอย่างช่องทาง ส่วนได้เสีย ความต้องการ ความคาดหวัง การสื่อสาร ผู้ถือหุ้น ความโปร่งใสของธุรกิจ – พัฒนาระบบควบคุมภายใน – การประชุมผู้ถือหุ้น และผลตอบแทนจาก และบริหารความเสี่ยง – เว็บไซต์ของบริษัท การลงทุนที่สม่ำ�เสมอ อย่างมีประสิทธิภาพ – รายงานประจำ�ปี/ – เปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส รายงานความยั่งยืน ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น การประชุมผู้ถือหุ้นประจำ�ปี รายงานประจำ�ปี เว็บไซต์ ของบริษัท เป็นต้น พนักงาน ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม – บริหารค่าตอบแทน – การประชุมพนักงาน และความก้าวหน้า อย่างเป็นธรรม – อีเมล/โซเชียลมีเดีย/ ในอาชีพ – พัฒนาทักษะและความสามารถ อินทราเน็ต ของพนักงานอย่างต่อเนื่อง ลูกค้า สินค้าและบริการ – พัฒนาสินค้าและบริการ – เว็บไซต์ของบริษัท/ ที่มีคุณภาพ อย่างต่อเนื่อง อีเมล/โซเชียลมีเดีย และราคาเหมาะสม – กำ�หนดราคาอย่างเหมาะสม – ตัวแทนขาย (sales – พัฒนาบริการหลังการขาย representative) ที่ตอบโจทย์ลูกค้า คู่ค้า การจัดซื้อจัดจ้างที่ – ปฏิบัติต่อคู่ค้าอย่างเป็นธรรม – การประชุมคู่ค้า โปร่งใสและเป็นธรรม และมีจรรยาบรรณในการดำ�เนิน – เว็บไซต์ของบริษัท ธุรกิจร่วมกันอย่างโปร่งใส – จรรยาบรรณธุรกิจ – การพัฒนาทักษะ และ สำ�หรับคู่ค้า ความสามารถของคู่ค้า ชุมชน/ การป้องกันผลกระทบ – ควบคุมและลดผลกระทบด้าน – กิจกรรมสานเสวนา สังคม ด้านสิ่งแวดล้อมและ สิ่งแวดล้อมจากกระบวนการ กับชุมชนรอบโรงงาน การสนับสนุนกิจกรรม ดำ�เนินธุรกิจ – อีเมล/โซเชียลมีเดีย/ ของชุมชน – สนับสนุนกิจกรรมและ อินทราเน็ต มีส่วนร่วมกับชุมชน เช่น – หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น การฝึกอาชีพให้ชุมชน 29 องค์ประกอบของการรายงานความยั่งยืน 4.2 ส่วนที่ 2: นโยบายและกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน ข้อมูลนโยบายและกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนสะท้อนถึงวัตถุประสงค์และกลยุทธ์ การจัดการด้านความยั่งยืนของบริษัทในภาพรวม ประกอบด้วยเนื้อหาสำ�คัญ ดังนี้ 4.2.1 นโยบายและเป้าหมายด้านความยั่งยืน ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายและเป้าหมายด้านความยั่งยืน แสดงให้เห็นถึงทิศทาง และแนวปฏิบัติการดำ�เนินงานด้านความยั่งยืนของบริษัท โดยมีสาระสำ�คัญ ดังนี้ (1) วัตถุประสงค์และเป้าหมาย แสดงถึงทิศทางและความคาดหวังจากการดำ�เนินงานด้านความยั่งยืนที่ครอบคลุม ประเด็นสิ่งแวดล้อมและสังคม ภายใต้ระบบการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี (2) แนวปฏิบัติ แสดงถึงกระบวนการ วิธีการ หรือมาตรฐานที่ทำ�ให้เกิดการปฏิบัติอย่างเป็น รูปธรรม โดยสะท้อนถึงเจตนารมณ์ของบริษัทที่จะปฏิบัติตามวัตถุประสงค์และ เป้าหมายที่กำ�หนดไว้ในข้อ (1) นอกจากนี้ บริษัทควรแสดงข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการและผลการปฏิบัติ รวมถึงการทบทวนสาระสำ�คัญต่าง ๆ ของนโยบายให้ทันสมัยและสอดคล้องกับกลยุทธ์ องค์กรเป็นประจำ�ทุกปี เพื่อทำ�ให้ผู้มีส่วนได้เสียมั่นใจว่า บริษัทดำ�เนินนโยบายดังกล่าว อย่างมีประสิทธิภาพ 30 4.2.2 ประเด็นสำ�คัญด้านความยั่งยืน ประเด็นสำ�คัญด้านความยั่งยืน (material topics) แสดงให้เห็นถึงเรื่องสำ�คัญ ต่าง ๆ ที่บริษัทต้องดำ�เนินการ เพื่อสนับสนุนเป้าหมายตามนโยบายด้านความยั่งยืน ขององค์กร โดยประเด็นดังกล่าวยังสะท้อนถึงความเสี่ยงและโอกาสของธุรกิจ ซึ่งสามารถ พิจารณาได้จากปัจจัยต่อไปนี้ (1) ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ (2) ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย บริษัทควรพิจารณาประเด็นด้านเศรษฐกิจ บริษัทควรพิจารณาประเด็นด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่สร้างประโยชน์ ความสามารถในการทำ�กำ�ไรและการเติบโต และอาจมีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย ของธุรกิจในด้านต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ การเงิน โดยประเด็นดังกล่าวควรสัมพันธ์กับ การปฏิบัติงาน และการปฏิบัติตามกฎหมาย ผลกระทบต่อธุรกิจ และอยู่ในความสนใจ ข้อบังคับของบริษัท เป็นต้น ของผู้มีส่วนได้เสียด้วย 31 องค์ประกอบของการรายงานความยั่งยืน ตารางที่ 2 ตัวอย่างการรายงานประเด็นสำ�คัญด้านความยั่งยืน ตัวอย่าง ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อ ประเด็นสำ�คัญ ด้านความยัง่ ยืน ธุรกิจ ผู้มีส่วนได้เสีย การบริหาร – การกำ�กับดูแลและบริหารความเสี่ยง – การบริหารความเสี่ยงช่วยบรรเทา ความเสี่ยง ที่มีมาตรการป้องกัน แก้ไข และเยียวยา ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย องค์กร ครอบคลุมปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม จากการดำ�เนินธุรกิจของบริษัท และสิ่งแวดล้อม จะทำ�ให้ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น คู่ค้ามั่นใจในกระบวนการ เกิดความมั่นใจต่อระบบควบคุมภายใน จัดซื้อที่โปร่งใส ลูกค้าได้รับสินค้า ของบริษัท และบริการที่มีคุณภาพ และปลอดภัย – มาตรการจัดการความเสี่ยงที่มี ชุมชนไม่ได้รับผลกระทบสิ่งแวดล้อม ประสิทธิภาพจะช่วยเตรียมพร้อมธุรกิจ จากการดำ�เนินธุรกิจ เป็นต้น สำ�หรับโอกาสและบรรเทาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การเคารพ – มาตรการป้องกันและเยียวยาด้าน – การกำ�กับดูแลและปฏิบัติตาม สิทธิมนุษยชน สิทธิมนุษยชนของบริษัทจะช่วย นโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของ บรรเทาความเสี่ยงจากการละเมิด บริษัทจะช่วยคุ้มครองสิทธิของ สิทธิมนุษยชนในกระบวนการธุรกิจ ผู้มีส่วนได้เสียอย่างเสมอภาค เช่น จากการใช้แรงงานผิดกฎหมาย หรือ พนักงานและแรงงานได้รับการ กรณีพิพาทกับผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งอาจ ปฏิบัติอย่างเป็นธรรม ลูกค้าเข้าถึง ทำ�ให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจ สินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพและ ที่รุนแรงถึงขั้นถูกกีดกันทางการค้า ปลอดภัย เป็นต้น การจัดการ – การจัดการก๊าซเรือนกระจกของบริษัท – การจัดการก๊าซเรือนกระจก ก๊าซเรือนกระจก สะท้อนถึงประสิทธิภาพของการใช้ ช่วยตอบสนองหน่วยงานทั้งใน พลังงานและทรัพยากร ช่วยลดต้นทุน และต่างประเทศ เพื่อร่วมมือกัน และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจ เช่น แก้ไขปัญหาโลกร้อนและการ การลดใช้ไฟฟ้าและน้ำ�มันเชื้อเพลิง เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในกระบวนการผลิตและขนส่ง ซึ่งเป็นสาเหตุของภัยธรรมชาติ การพัฒนาสินค้าคาร์บอนต่ำ� เป็นต้น …(ระบุประเด็น … (ระบุรายละเอียด) … (ระบุรายละเอียด) เพิ่มเติม) 32 4.2.3 การจัดลำ�ดับความสำ�คัญของประเด็นด้านความยั่งยืน เนื่องจากประเด็นด้านความยั่งยืนที่บริษัทกำ�หนดไม่สามารถดำ�เนินการให้สำ�เร็จ พร้อมกันได้ในระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้น บริษัทควรรายงานข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า บริษัท มีการจัดลำ�ดับของแต่ละประเด็นอย่างเป็นระบบ เพื่อประโยชน์ต่อการตัดสินใจกำ�หนด แนวทางการจัดการประเด็นด้านความยั่งยืนตามความสำ�คัญและความเร่งด่วนในการ จัดการ ภาพที่ 2 แนวทางการจัดลำ�ดับความสำ�คัญของประเด็นด้านความยั่งยืน (materiality matrix) มาก ประเด็นที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ ประเด็นที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ “น้อย-ปานกลาง” “มาก” ประเด็นที่มีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย ประเด็นที่มีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย ประเด็นที่มีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย “มาก” “มาก” ประเด็นที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ ประเด็นที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ “น้อย-ปานกลาง” “มาก” ประเด็นที่มีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย ประเด็นที่มีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย “น้อย-ปานกลาง” “น้อย-ปานกลาง” น้อย ประเด็นที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ มาก 33 องค์ประกอบของการรายงานความยั่งยืน 4.2.4 ประเด็นพื้นฐานด้านความยั่งยืนของบริษัท ตลาดหลักทรัพย์ฯ ศึกษาประเด็นสำ�คัญด้านความยั่งยืนจากมาตรฐานด้าน ความยั่งยืนทั้งในและต่างประเทศ2 โดยมีประเด็นพื้นฐานที่บริษัทควรนำ�ไปปฏิบัติ ในมิติสิ่งแวดล้อม มิติสังคม มิติบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ ดังนี้ ตารางที่ 3 ประเด็นพื้นฐานด้านความยั่งยืนของบริษัทตามข้อแนะนำ�ของตลาดหลักทรัพย์ฯ มิติสิ่งแวดล้อม (E) คำ�อธิบายประเด็น E1 นโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมสะท้อนถึงแนวทางการจัดการพลังงาน นโยบายและการปฏิบัติ และทรัพยากรอย่างคุ้มค่าของบริษัท ซึ่งเป็นปัจจัยสำ�คัญในการประกอบ ตามมาตรฐานการจัดการ ธุรกิจของทุกอุตสาหกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม E2 การจัดหาและการใช้ไฟฟ้า น้ำ�มันเชื้อเพลิง รวมทั้งพลังงานอื่น ๆ อย่างคุ้มค่า สะท้อนการจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ และแสดงให้เห็นถึง การจัดการพลังงาน ความพยายามในการลดการพึ่งพาพลังงานสิ้นเปลือง หรือเชื้อเพลิงที่ใช้ แล้วหมดไป E3 การจัดหาและการใช้น้ำ�อย่างคุ้มค่าสะท้อนการบริหารจัดการต้นทุน ในกระบวนการธุรกิจและลดความเสี่ยงในการขาดแคลนทรัพยากรน้ำ� การจัดการน้ำ� E4 ความพยายามในการลดขยะและของเสียจากการดำ�เนินธุรกิจแสดงถึง ความสามารถในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และลดผลกระทบเชิงลบ การจัดการขยะ และของเสีย จากกระบวนการธุรกิจที่อาจสร้างความเดือดร้อนให้แก่ชุมชนและสังคม E5 ความพยายามในการควบคุมและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อย่างต่อเนื่อง จะช่วยบรรเทาปัญหาและความรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลง การจัดการ ก๊าซเรือนกระจก สภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติต่อกิจกรรมทางธุรกิจ 2 ตลาดหลักทรัพย์ฯ ศึกษาการดำ�เนินงานด้านความยั่งยืนจากแนวปฏิบัติทั้งในและต่างประเทศ สอดคล้องกับ แบบแสดงรายการข้อมูลประจำ�ปี/รายงานประจำ�ปี (แบบ 56-1 One Report) ยุทธศาสตร์ชาติ หลักการกำ�กับดูแล กิจการที่ดีสำ�หรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560 (Corporate Governance Code) และมาตรฐานการรายงานความยั่งยืน สากล GRI Standards เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) รวมถึงแนวทาง การประเมินด้านความยั่งยืนทั้งในและต่างประเทศ 34 มิติสังคม (S) คำ�อธิบายประเด็น S1 การดำ�เนินธุรกิจมีความเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียหลากหลายกลุ่มที่อาจ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ดังนั้น จุดเริ่ม สิทธิมนุษยชน ของการดูแลผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นธรรมจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจ และ ทัศนคติที่ดีต่อการดำ�เนินธุรกิจ โดยไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน S2 การปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรมตั้งแต่การจ้างงานจนถึงพนักงาน พ้นสภาพแสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่และความพยายามในการสร้าง การปฏิบัติต่อแรงงาน อย่างเป็นธรรม ความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร อีกทั้งช่วยลดความเสี่ยงในประเด็น ข้อพิพาทด้านแรงงาน S3 ความรับผิดชอบต่อลูกค้า/ผู้บริโภคแสดงให้เห็นถึงความพยายามใน การส่งมอบสินค้าและ/หรือบริการที่สามารถยกระดับความพึงพอใจและ ความรับผิดชอบต่อลูกค้า/ ผู้บริโภค ความไว้วางใจจากลูกค้า S4 ความรับผิดชอบต่อชุมชน/สังคมแสดงถึงความพยายามในการป้องกัน ผลกระทบที่มีต่อชุมชน/สังคมจากการดำ�เนินธุรกิจ นอกจากนี้ การมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบต่อชุมชน/ สังคม ในการพัฒนาชุมชน/สังคมอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นถึงความพยายาม ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมอย่างยั่งยืน มิตบิ รรษัทภิบาล คำ�อธิบายประเด็น และเศรษฐกิจ (G) G1 โครงสร้างและระบบการกำ�กับดูแลกิจการทีดีสะท้อนถึงกลไกการควบคุม ภายในที่ก่อให้เกิดความเป็นธรรมและโปร่งใส รวมถึงบทบาทของ นโยบาย โครงสร้าง และ ระบบกำ�กับดูแลกิจการ คณะกรรมการในฐานะผู้นำ�องค์กรไปสู่ความสำ�เร็จ โดยคำ�นึงถึงผลประโยชน์ ของผู้ถือหุ้นและความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย G2 นโยบายและกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนขององค์กรสะท้อนถึงเจตนารมณ์ และความมุ่งมั่นของบริษัทที่จะกำ�กับดูแลกิจการให้เติบโตไปพร้อมกับสังคม นโยบายและกลยุทธ์ ความยั่งยืน และสิ่งแวดล้อม G3 การบริหารความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เป็นแนวทางจัดการที่สะท้อนความเพียงพอของระบบ การบริหารความเสี่ยง ด้านความยั่งยืน ควบคุมภายใน เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียเกิดความมั่นใจว่าบริษัทสามารถรับมือ และจัดการกับความเสี่ยงเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ G4 การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนสะท้อนถึงประสิทธิภาพ ความโปร่งใส และการมีส่วนร่วมกับคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่กระบวนการคัดเลือกคู่ค้า การจัดการห่วงโซ่อุปทาน อย่างยั่งยืน การจัดซื้อจัดจ้าง การประเมินคู่ค้า ตลอดจนถึงการส่งเสริมให้คู่ค้าปฏิบัติ ตามแนวทางการดำ�เนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของบริษัท G5 การพัฒนานวัตกรรมของบริษัทสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามในการเพิ่ม ศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การพัฒนานวัตกรรม สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย พร้อมกับการสร้างคุณค่าให้แก่ธุรกิจและสังคม 35 องค์ประกอบของการรายงานความยั่งยืน 4.3 ส่วนที่ 3: ผลการดำ�เนินงานด้านความยั่งยืน ข้อมูลเกี่ยวกับการดำ�เนินงานด้านความยั่งยืน (management approach) แสดงให้เห็นถึงวิธีการและผลลัพธ์ของการจัดการประเด็นสำ�คัญด้านความยั่งยืน ในแต่ละประเด็นอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีโครงสร้างเนื้อหา ดังนี้ 4.3.1 วัตถุประสงค์และเป้าหมาย บริษัทควรแสดงข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุประสงค์การดำ�เนินงานตามประเด็นสำ�คัญ ด้านความยั่งยืนที่บริษัทกำ�หนดรายประเด็น โดยแต่ละประเด็นควรกำ�หนดเป้าหมาย ที่สามารถวัดผลได้ (measurable) ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงทิศทางการดำ�เนินงานของ บริษัทอย่างชัดเจน นอกจากนี้ บริษัทควรแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการปฏิบัติ ตามกฎหมายข้อบังคับ หรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนั้น ๆ 4.3.2 แนวทางการดำ�เนินงาน บริษัทควรแสดงข้อมูลที่เกี่ยวกับขั้นตอนการดำ�เนินงานในแต่ละประเด็น ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้ ประกอบด้วย (1) การจัดสรรทรัพยากร เช่น ผู้รับผิดชอบ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ทุน เป็นต้น (2) มาตรการป้องกันและแก้ไขในกรณีที่พบปัญหาหรืออุปสรรค (3) การสร้างความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง 4.3.3 ตัวชี้วัดและผลการดำ�เนินงาน บริษัทควรแสดงข้อมูลที่สามารถวัดและประเมินผลลัพธ์ของแต่ละประเด็น โดยกำ�หนดตัวชี้วัดอย่างชัดเจน เพื่อให้ทราบเกี่ยวกับความคืบหน้าของการดำ�เนินงาน เมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กำ�หนด เพื่อให้การดำ�เนินงานด้านความยั่งยืนของบริษัท เกิดประสิทธิภาพและความต่อเนื่อง 36 ตารางที่ 4 ตัวอย่างการรายงานข้อมูลการจัดการประเด็นสำ�คัญด้านความยั่งยืน ประเด็นสำ�คัญ การจัดการพลังงาน ด้านความยัง่ ยืน วัตถุประสงค์ – เพื่อควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากร และเป้าหมาย ธรรมชาติอย่างคุ้มค่า ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และลดต้นทุนด้านพลังงาน ของบริษัท – เป้าหมายในปี 2563 คือการลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ ลง 2% เมื่อเทียบกับปี 2562 หรือควบคุมดัชนีการใช้พลังงานให้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 2.814 เมกกะจูลต่อชิ้น (ผลิตภัณฑ์) แนวทางการ – ปฏิบัติตามข้อกำ�หนดและกฎหมายแล้ว รวมถึงแต่งตั้งคณะทำ�งานระบบบริหาร ดำ�เนินงาน จัดการพลังงาน ISO 50001 เพื่อดำ�เนินงานตามนโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงาน โดยกำ�หนดเป้าหมาย วางแผนงาน ดำ�เนินงานตามแผน และตรวจวัดวิเคราะห์ ผลการดำ�เนินงานตามแนวทางข้อกำ�หนดของระบบการจัดการพลังงานในระดับสากล ISO 50001:2011 โดยมีการปรับปรุงแผนงานอย่างต่อเนื่องทุกปี – ดำ�เนินงานและกิจกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่อง ด้วยมาตรการ การควบคุม มาตรการการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า โดยให้ ความสำ�คัญกับโครงการอนุรักษ์พลังงานที่มีการลงทุนและไม่มีการลงทุน ควบคู่ กับการศึกษาเทคโนโลยีด้านการประหยัดพลังงาน และนำ�เทคโนโลยีเหล่านั้นมา ประยุกต์ใช้งานให้เกิดประโยชน์กับบริษัท – กำ�หนดแผนงานบำ�รุงรักษาเครื่องจักรอุปกรณ์หลักที่มีการใช้พลังงานสูง เช่น เครื่องจักรในงาน utility โดยเน้นเรื่องการบำ�รุงรักษาเครื่องจักรอุปกรณ์ในเชิงป้องกัน (preventive maintenance) เพื่อให้เครื่องจักรอุปกรณ์มีความพร้อมใช้งาน และป้องกัน ไม่ให้เกิดความเสียหาย รวมทั้งได้ดำ�เนินการอย่างต่อเนื่องในมาตรการควบคุม ประสิทธิภาพหรือค่าสมรรถนะของเครื่องจักรที่มีนัยสำ�คัญ กำ�หนดให้เครื่องจักรที่มี ประสิทธิภาพสูงสุดถูกเลือกใช้งานก่อน ส่งผลให้สามารถควบคุมการทำ�งานของ เครื่องจักรและอุปกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน สามารถลดการสูญเสียด้านพลังงานและลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้ ตัวชี้วัด – บริษัทใช้พลังงานทุติยภูมิในกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นพลังงานทางอ้อม (indirect energy) และผลการ จากการไฟฟ้านครหลวง ดำ�เนินงาน – ในปี 2563 บริษัทมีปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าเท่ากับ 6,941,000 กิโลวัตต์- ชั่วโมง เมื่อเทียบกับปริมาณการใช้พลังงาน ปี 2562 ที่มีค่าเท่ากับ 7,475,000 กิโลวัตต์-ชั่วโมง พบว่ามีการใช้พลังงานลดลง 7.14% – อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากค่าปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ ที่บริษัท กำ�หนดให้เป็นตัวชี้วัดสมรรถนะด้านพลังงานขององค์กรในปี 2563 มีค่าเท่ากับ 3.66 เมกกะจูลต่อชิ้น (ผลิตภัณฑ์) พบว่าสูงกว่าเป้าหมายด้านพลังงาน ที่ตั้งไว้ 27.66% เนื่องจากปัจจัยด้านผลผลิตที่ลดลง ประกอบกับการที่บริษัท ต้องปรับแผนเรื่องการลดเวลาในการผลิตให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) 37 05 ตัวชีว้ ดั การดำ�เนินงาน ด้านความยัง่ ยืน (ESG Metrics) ตัวชี้วัดการดำ�เนินงานด้านความยั่งยืน (ESG Metrics) คู่มือฉบับนี้กำ�หนดตัวชี้วัดด้านความยั่งยืน (ESG metrics) ระดับพื้นฐาน รวมทั้งสิ้น 122 ตัวชี้วัด เพื่อให้ผู้จัดทำ�รายงานมีแนวทางการเปิดเผยข้อมูลด้าน ความยั่งยืนที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย ประกอบด้วยชุดตัวชี้วัด 2 ระดับ ได้แก่ 1. ตัวชี้วัดระดับ Core (C) หมายถึง ตัวชี้วัดด้านความยั่งยืนที่สามารถใช้ประกอบการเปิดเผยข้อมูลตามแบบ 56-1 One Report ซึ่งบริษัทจดทะเบียนต้องรายงานเป็นประจำ�ทุกปี 2. ตัวชี้วัดระดับ Recommended (R) หมายถึง ตัวชี้วัดด้านความยั่งยืนที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ แนะนำ�ให้เปิดเผยเพิ่มเติม ซึ่งบริษัทจดทะเบียนสามารถพิจารณาเลือกรายงานได้ตามความสมัครใจ ตารางที่ 5 ตัวชี้วัดการดำ�เนินงานด้านความยั่งยืน (ESG metrics) มิติสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย ตัวชี้วัดเกี่ยวกับนโยบาย แผนงาน และผลลัพธ์ ด้านสิ่งแวดล้อมจากการดำ�เนินธุรกิจ ซึ่งสะท้อนถึงความสามารถ E ในการใช้พลังงานและทรัพยากรของบริษัทอย่างคุ้มค่า โดยมี รายละเอียดตัวชี้วัด ดังนี้ ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) E1 นโยบายและการปฏิบัติตามมาตรฐานการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม E1.1C E1.3R นโยบายและแนวปฏิบัติเรื่องการจัดการ มูลค่าความเสียหายหรือค่าปรับที่เกิดจาก ด้านสิ่งแวดล้อม การละเมิดกฎหมายหรือการสร้างผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อม E1.2C จำ�นวนกรณีหรือเหตุการณ์ละเมิดกฎหมาย E1.4R หรือการสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตามหลักการและมาตรฐานสากล พร้อมอธิบายมาตรการแก้ไข เกี่ยวกับการจัดการพลังงาน E1.5R การปฏิบัติตามหลักการและมาตรฐานสากล เกี่ยวกับการจัดการนํ้า 40 ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) E1.6R การปฏิบัติตามหลักการและมาตรฐานสากล เกี่ยวกับการจัดการขยะและของเสีย E1.7R การปฏิบัติตามหลักการและมาตรฐานสากล เกี่ยวกับการจัดการก๊าซเรือนกระจก หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ E2 การจัดการพลังงาน E2.1C E2.4R แผนการจัดการพลังงาน เป้าหมายการจัดการพลังงาน E2.2C E2.5R ปริมาณการใช้พลังงาน (ไฟฟ้า/เชื้อเพลิง) ปริมาณการใช้พลังงานต่อหน่วย (energy intensity) E2.3C ปริมาณการใช้พลังงานทดแทน E3 การจัดการน้ำ� E3.1C E3.3R แผนการจัดการนํ้า เป้าหมายการใช้นํ้า E3.2C E3.4R ปริมาณการใช้นํ้า ปริมาณการใช้นํ้าต่อหน่วย (water intensity) E3.5R ร้อยละของนํ้าเสียที่ได้รับการบำ�บัดก่อนทิ้ง E4 การจัดการขยะและของเสีย E4.1C E4.3R แผนการจัดการขยะและของเสีย เป้าหมายการจัดการขยะและของเสีย E4.2C E4.4R ปริมาณขยะและของเสีย ปริมาณขยะและของเสียที่ผ่านกระบวนการ reuse และ/หรือ recycle 41 ตัวชี้วัดการดำ�เนินงานด้านความยั่งยืน (ESG Metrics) ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) E5 การจัดการก๊าซเรือนกระจก E5.1C E5.4R แผนการจัดการก๊าซเรือนกระจก เป้าหมายการจัดการก๊าซเรือนกระจก E5.2C E5.5R ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม ของขอบเขตที่ 1 และขอบเขตที่ 2 ของขอบเขตที่ 1 ขอบเขตที่ 2 และขอบเขตที่ 3 E5.3C E5.6R การทวนสอบข้อมูลปริมาณการปล่อย ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วย ก๊าซเรือนกระจก โดยหน่วยงานภายนอก (carbon intensity) มิติสังคม ประกอบด้วย ตัวชี้วัดเกี่ยวกับนโยบาย แผนงาน และผลลัพธ์ด้านสังคม S จากการดำ�เนินธุรกิจ ซึ่งสะท้อนถึงการเคารพสิทธิมนุษยชนและการสร้าง ความพึงพอใจให้แก่พนักงาน ลูกค้า ชุมชน และสังคม ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) S1 สิทธิมนุษยชน S1.1C S1.2R นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน การประเมินความเสี่ยงจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างรอบด้านในการดำ�เนินธุรกิจ (Human Rights Due Diligence: HRDD) พร้อมมาตรการป้องกัน S1.3R จำ�นวนเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน พร้อมมาตรการแก้ไขและเยียวยา S2 การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม การจ้างงาน S2.1C จำ�นวนพนักงานแยกตามเพศ อายุ ระดับตำ�แหน่ง และพื้นที่ภูมิลำ�เนา S2.2C จำ�นวนพนักงานผู้พิการและ/หรือผู้สูงอายุ 42 ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) การจ่ายค่าตอบแทนพนักงาน S2.3C S2.5R จำ�นวนค่าตอบแทนรวมของพนักงาน ความแตกต่างของค่าตอบแทนระหว่างเพศ S2.4C ร้อยละของพนักงานที่เป็นสมาชิกกองทุนสำ�รอง เลี้ยงชีพ การพัฒนาพนักงาน S2.6C S2.8R แผนงานหรือกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาพนักงาน แผนการพัฒนาพนักงานเป็นส่วนหนึ่งของการ S2.7C ประเมินผลการปฏิบัติงานประจำ�ปีของพนักงาน จำ�นวนชั่วโมงอบรมความรู้เฉลี่ยของพนักงาน S2.9R เป้าหมายการพัฒนาพนักงาน S2.10R จำ�นวนค่าใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาพนักงาน S2.11R ประโยชน์ที่พนักงานและ/หรือองค์กรได้รับ จากการพัฒนาพนักงาน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำ�งาน S2.12C S2.14R แผนงาน หรือกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนา เป้าหมายการพัฒนาความปลอดภัย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำ�งาน ในการทำ�งาน S2.13C S2.15R จำ�นวนเหตุการณ์หรือกรณีบาดเจ็บ อัตราการบาดเจ็บจากการทำ�งานถึงขั้นหยุดงาน จากการทำ�งานถึงขั้นหยุดงาน (Lost Time Injury Frequency Rate: LTIFR) การส่งเสริมความสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วมกับพนักงาน S2.16C S2.19R แผนการพัฒนาความผูกพันและการรักษา เป้าหมายการพัฒนาความผูกพันและการรักษา พนักงาน พนักงาน S2.17C S2.20R ร้อยละของพนักงานที่ลาออกโดยสมัครใจ ผลประเมินความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร S2.18C S2.21R จำ�นวนข้อพิพาทด้านแรงงานที่สำ�คัญ การรวมกลุ่มของพนักงานเพื่อเจรจาหารือกับ พร้อมมาตรการแก้ไข บริษัทเกี่ยวกับผลประโยชน์และสวัสดิการของ พนักงาน 43 ตัวชี้วัดการดำ�เนินงานด้านความยั่งยืน (ESG Metrics) ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) S3 ความรับผิดชอบต่อลูกค้า/ผู้บริโภค สิทธิผู้บริโภค S3.1C S3.4R นโยบายและแนวปฏิบัติเรื่องการรักษาข้อมูล ช่องทางที่บริษัทรับข้อร้องเรียนจากลูกค้า/ ส่วนบุคคลของลูกค้า ผู้บริโภค S3.2C S3.5R จำ�นวนกรณีข้อมูลลูกค้ารั่วไหลพร้อมมาตรการ แผนการพัฒนาความพึงพอใจของลูกค้า แก้ไข S3.6R S3.3C เป้าหมายการพัฒนาความพึงพอใจของลูกค้า จำ�นวนเหตุการณ์หรือข้อร้องเรียนที่เกี่ยวกับ การละเมิดสิทธิผู้บริโภค พร้อมมาตรการแก้ไข S3.7R ผลประเมินความพึงพอใจของลูกค้า การตลาดและโฆษณาอย่างรับผิดชอบ S3.8R แนวปฏิบัติด้านการตลาดและโฆษณา อย่างรับผิดชอบ S3.9R แนวปฏิบัติการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบ ของสินค้าและบริการแก่ลูกค้า/ผู้บริโภค S4 ความรับผิดชอบต่อชุมชน/สังคม S4.1C S4.4R นโยบายการพัฒนาและมีส่วนร่วมกับชุมชน/ เป้าหมายการพัฒนาและมีส่วนร่วมกับชุมชน/ สังคมที่อาจได้รับผลกระทบจากธุรกิจ สังคมที่อาจได้รับผลกระทบจากธุรกิจ S4.2C S4.5R แผนส่งเสริมการพัฒนาและมีส่วนร่วมกับชุมชน/ ประโยชน์จากโครงการหรือกิจกรรม สังคมที่อาจได้รับผลกระทบจากธุรกิจ เพื่อการพัฒนาและช่วยเหลือชุมชน/สังคม S4.3C S4.6R จำ�นวนข้อพิพาทกับชุมชน/สังคม จำ�นวนเงินรวมที่ใช้ในโครงการหรือกิจกรรม พร้อมมาตรการแก้ไข เพื่อการพัฒนาและช่วยเหลือชุมชน/สังคม 44 มิติบรรษัทภิบาล ประกอบด้วย ตัวชี้วัดเกี่ยวกับนโยบาย แผนงาน และผลลัพธ์ ด้านการกำ�กับดูแลกิจการ ซึ่งสะท้อนถึงการดำ�เนินธุรกิจ และเศรษฐกิจ อย่างโปร่งใส มีความรับผิดชอบ และการพัฒนานวัฒนกรรม G ที่เป็นการสร้างประโยชน์ต่อธุรกิจ และผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดห่วงโซ่คุณค่า ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) G1 นโยบาย โครงสร้าง และระบบกำ�กับดูแลกิจการ องค์ประกอบของคณะกรรมการ G1.1C ประวัติของคณะกรรมการบริษัทรายบุคคล G1.2C จำ�นวนกรรมการทั้งคณะ G1.3C จำ�นวนกรรมการอิสระ G1.4C จำ�นวนกรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร G1.5C จำ�นวนกรรมการหญิง G1.6C ประธานกรรมการเป็นกรรมการอิสระ G1.7C ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ ไม่เป็นบุคคลเดียวกัน G1.8C จำ�นวนกรรมการอิสระในคณะกรรมการชุดย่อย แต่ละชุด G1.9C ประธานของคณะกรรมการชุดย่อยแต่ละชุด เป็นกรรมการอิสระ G1.10C จำ�นวนปีการดำ�รงตำ�แหน่งของกรรมการ รายบุคคล 45 ตัวชี้วัดการดำ�เนินงานด้านความยั่งยืน (ESG Metrics) ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) บทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมการ G1.11C G1.17R จำ�นวนครั้งการประชุมของคณะกรรมการ ผลการปฏิบัติตามแผนการสืบทอดตำ�แหน่ง G1.12C ผลการดำ�เนินงานของคณะกรรมการบริษัท G1.13C จำ�นวนครั้งการประชุมของคณะกรรมการ ตรวจสอบ G1.14C ผลการดำ�เนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ G1.15C จำ�นวนครั้งการประชุมของคณะกรรมการชุดย่อย แต่ละชุด G1.16C ผลการดำ�เนินงานของคณะกรรมการชุดย่อย แต่ละชุด การสรรหากรรมการ G1.18C นโยบายและหลักเกณฑ์การสรรหากรรมการ ที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับกลยุทธ์องค์กร G1.19C การวิเคราะห์ทักษะและประสบการณ์ของกรรมการ ตามลักษณะของธุรกิจ (board skill matrix) G1.20C ประวัติของกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ 46 ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหารระดับสูง G1.21C G1.26R นโยบายและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทน ค่าตอบแทนอื่นและผลประโยชน์ระยะยาว ของกรรมการ ของผู้บริหารระดับสูง G1.22C จำ�นวนค่าตอบแทนของกรรมการรายบุคคล G1.23C ค่าตอบแทนอื่นที่ไม่ใช่ตัวเงินของกรรมการ G1.24C นโยบายและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทน ของผู้บริหารระดับสูง G1.25C จำ�นวนค่าตอบแทนรวมของผู้บริหารระดับสูง การพัฒนากรรมการ G1.27C G1.28R นโยบายเกี่ยวกับแผนพัฒนากรรมการ ผลการดำ�เนินงานด้านการพัฒนากรรมการ รายบุคคล การประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง G1.29C G1.32R หลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ ผลประเมินการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ ของคณะกรรมการ แบบรายบุคคล G1.30C G1.33R ผลประเมินการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ หลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ แบบรายคณะ ของกรรมการผู้จัดการ G1.31C ผลประเมินการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ชุดย่อยแต่ละชุด 47 ตัวชี้วัดการดำ�เนินงานด้านความยั่งยืน (ESG Metrics) ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) จรรยาบรรณธุรกิจ G1.34C G1.38R จรรยาบรรณธุรกิจ (code of conduct) มาตรการป้องกันการละเมิดจรรยาบรรณธุรกิจ G1.35C นโยบาย และแนวปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชัน G1.36C จำ�นวนกรณีการละเมิดจรรยาบรรณธุรกิจ หรือการทุจริตคอร์รัปชัน พร้อมมาตรการแก้ไข G1.37C นโยบายและแนวปฏิบัติการจัดการข้อร้องเรียน และแจ้งเบาะแส (whistle blowing) G2 นโยบายและกลยุทธ์ความยั่งยืน G2.1C G2.2R นโยบายและเป้าหมายด้านความยั่งยืน ประเด็นสำ�คัญด้านความยั่งยืนขององค์กร ระดับองค์กร (material topics) G2.3R รายงานความยั่งยืน G2.4R มาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลผลการดำ�เนินงาน ด้านความยั่งยืน เช่น GRI Standards เป็นต้น G3 การบริหารความเสี่ยงด้านความยั่งยืน G3.1C G3.5R นโยบายและแนวปฏิบัติเรื่องการบริหาร มาตรฐานเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง ความเสี่ยงด้านความยั่งยืน ด้านความยั่งยืน G3.2C ปัจจัยความเสี่ยงและโอกาสจากประเด็น ด้านความยั่งยืน (ESG risks) G3.3C ปัจจัยความเสี่ยงใหม่ (emerging risks) ที่อาจมีผลกระทบต่อธุรกิจในอนาคตอันใกล้ G3.4C แผนบริหารความต่อเนื่องของธุรกิจ เช่น Business Continuity Plan (BCP) เป็นต้น 48 ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) G4 การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน G4.1C G4.3R นโยบายและแนวปฏิบัติด้านการจัดการห่วงโซ่ ร้อยละของคู่ค้ารายใหม่ของบริษัทที่ผ่านการ อุปทานอย่างยั่งยืน คัดกรองประเด็นด้านความยั่งยืน G4.2C G4.4R แผนบริหารห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน จรรยาบรรณคู่ค้าของธุรกิจ (supplier code of conduct) G4.5R ร้อยละของคู่ค้ารายสำ�คัญที่ร่วมลงนามปฏิบัติ ตามจรรยาบรรณคู่ค้าของธุรกิจ G5 การพัฒนานวัตกรรม G5.1C G5.4R นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการพัฒนา ประโยชน์จากการพัฒนานวัตกรรม นวัตกรรมระดับองค์กร G5.2C กระบวนการพัฒนาและส่งเสริมวัฒนธรรม ด้านนวัตกรรมขององค์กร G5.3C ค่าใช้จ่ายการทำ�วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม กรณีที่บริษัทมีการดำ�เนินงานด้านความยั่งยืนในประเด็นอื่น ๆ เพิ่มเติมจากที่ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ระบุไว้ข้างต้น บริษัทสามารถเปิดเผยนโยบาย แนวปฏิบัติ แผนงาน และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น พร้อมระบุตัวชี้วัดผลการดำ�เนินงานตามที่บริษัทเห็นว่าเหมาะสม โดยข้อมูลดังกล่าวควรสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียและประเด็นสำ�คัญ ด้านความยั่งยืนของบริษัท 49 06 ภาคผนวก ภาคผนวก คำ�อธิบาย ESG metrics มิติสิ่งแวดล้อม E ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) GRI Standards SDGs E1 นโยบายและการปฏิบัติตามมาตรฐานการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม E1.1C E1.3R GRI 103: - นโยบายและแนวปฏิบัติ มูลค่าความเสียหายหรือค่าปรับที่เกิด Management เรื่องการจัดการ จากการละเมิดกฎหมายหรือการสร้าง Approach ด้านสิ่งแวดล้อม ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม E1.2C E1.4R จำ�นวนกรณีหรือ การปฏิบัติตามหลักการและมาตรฐาน เหตุการณ์ละเมิด สากลเกี่ยวกับการจัดการพลังงาน กฎหมาย หรือการสร้าง ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม E1.5R พร้อมอธิบายมาตรการ การปฏิบัติตามหลักการและมาตรฐาน แก้ไข สากลเกี่ยวกับการจัดการนํ้า E1.6R การปฏิบัติตามหลักการและมาตรฐาน สากลเกี่ยวกับการจัดการขยะและของเสีย E1.7R การปฏิบัติตามหลักการและมาตรฐาน สากลเกี่ยวกับการจัดการก๊าซเรือนกระจก หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำ�ไมบริษัทควรรายงาน ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมระดับองค์กร เช่น • การจัดการพลังงาน แสดงให้เห็นว่า บริษัทมีพันธกิจและแนวทางการจัดการเพื่อลดการใช้ไฟฟ้าและเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งเป็น ปัจจัยสำ�คัญในการประกอบธุรกิจของทุกอุตสาหกรรม อีกทั้งสะท้อนถึงการเตรียมรับมือกับความเสี่ยง ด้านวิกฤตพลังงานในอนาคต และการแสวงหาโอกาสใหม่ทางธุรกิจจากพลังงานทดแทน • การจัดการน้ำ� แสดงให้เห็นว่า บริษัทมีพันธกิจและแนวทางการจัดการเพื่อลดความเสี่ยงด้านวิกฤตการขาดแคลนน้ำ� และป้องกันผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้น้ำ� ทั้งด้านการดูแลพัฒนาและฟื้นฟูแหล่งน้ำ� ของชุมชนด้วย 52 • การจัดการขยะและของเสีย แสดงให้เห็นว่า บริษัทมีพันธกิจและแนวทางการจัดการเพื่อลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม โดยการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า อีกทั้งสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามในการนำ�ขยะและของเสีย กลับมาใช้ใหม่หรือใช้ซ้ำ�ในกระบวนการดำ�เนินธุรกิจ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กิจการ • การจัดการก๊าซเรือนกระจก แสดงให้เห็นว่า บริษัทมีพันธกิจและแนวทางการจัดการเพื่อลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ พลังงานและทรัพยากรตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ ซึ่งเป็นสาเหตุสำ�คัญที่ทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศและภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบต่อการดำ�เนินธุรกิจในอนาคต แนวทางการรายงาน บริษัทควรเปิดเผยข้อมูล ดังนี้ 1. สาระสำ�คัญของนโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมโดยสังเขป เพื่อแสดงให้เห็นถึงแนวทาง การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ โดยนโยบายดังกล่าวอาจมีลักษณะที่เหมือน หรือแตกต่างกันตามบริบทของธุรกิจ 2. ผลการปฏิบัติตามนโยบายและแนวปฏิบัติเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ เพื่อช่วยสร้างความเชื่อมั่น ในประสิทธิภาพการจัดการพลังงานและทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตลอดจนความพยายามในการลด ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัท พร้อมกับจำ�นวนกรณีหรือเหตุการณ์ละเมิดกฎหมายหรือการสร้าง ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมพร้อมอธิบายมาตรการแก้ไข 3. จำ�นวนค่าปรับหรือความเสียหายที่เป็นตัวเงินจากการละเมิดกฎหมายหรือการสร้างผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) รวมถึงจำ�นวนเงินในการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่บริษัททำ�ให้ เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 4. ข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า บริษัทได้นำ�มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของธุรกิจ จนนำ�ไปสู่การยกระดับคุณภาพการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร ทั้งนี้ มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม บางประเภทอาจเป็นเงื่อนไขทางการค้าสำ�หรับอุตสาหกรรมที่มีตลาดและการลงทุนในต่างประเทศ เช่น มาตรฐาน ISO14001, Carbon Disclosure Project (CDP) เป็นต้น 5. แหล่งศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เช่น - ISO14001 - Environmental management - ISO/DIS 24526 - Water efficiency management systems - ISO 14046 - Environmental management - Water footprint - ISO 50001 - Energy management - Task Force on Climate-related Financial Disclosures (TCFD)3 - Leadership in Energy & Environmental Design (LEED) 3 ข้อเสนอแนะสำ�หรับการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลกระทบ ต่อกลยุทธ์และการเงินของธุรกิจ 53 ภาคผนวก ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) GRI Standards SDGs E2 การจัดการพลังงาน E2.1C E2.4R GRI 302: Goal 7: แผนการจัดการพลังงาน เป้าหมายการจัดการพลังงาน Energy Affordable and Clean Energy E2.2C E2.5R ปริมาณการใช้พลังงาน ปริมาณการใช้พลังงานต่อหน่วย (ไฟฟ้า/เชื้อเพลิง) (energy intensity) E2.3C ปริมาณการใช้พลังงาน ทดแทน ทำ�ไมบริษัทควรรายงาน • ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการพลังงานของบริษัท แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการใช้ไฟฟ้าและเชื้อเพลิงอย่างคุ้มค่า ซึ่งเป็นปัจจัยสำ�คัญในการดำ�เนิน ธุรกิจ โดยข้อมูลปริมาณการใช้พลังงานทำ�ให้เห็นแนวโน้มการใช้ไฟฟ้าและ/หรือเชื้อเพลิงขององค์กร ในแต่ละปี หากบริษัทมีปริมาณการใช้พลังงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่อัตราการขยายตัว หรือการเติบโตของธุรกิจยังอยู่ในระดับคงที่ อาจสะท้อนว่าบริษัทมีต้นทุนด้านพลังงานที่สูงขึ้น • ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งเป็นพลังงานที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น แสงอาทิตย์ ลม กระแสน้ำ� เป็นต้น โดยข้อมูลปริมาณการใช้ พลังงานทดแทนสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามในการลดใช้พลังงานสิ้นเปลืองกลุ่มฟอสซิล ซึ่งช่วย ลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนพลังงานในอนาคต อีกทั้งช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในกระบวนการดำ�เนินธุรกิจด้วย แนวทางการรายงาน บริษัทควรเปิดเผยข้อมูล ดังนี้ 1. แผนการจัดการและเป้าหมายเชิงปริมาณในการลดการใช้ไฟฟ้าและ/หรือเชื้อเพลิงขององค์กร ที่แสดงถึงความพยายามในการพัฒนาและปรับปรุงการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า ลดการสูญเสียพลังงาน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการต้นทุนของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง 2. ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำ�มันเชื้อเพลิงที่ครอบคลุมกิจกรรมของธุรกิจ เช่น การผลิต การบริการ และการขนส่ง เป็นต้น ทั้งนี้ บริษัทควรรายงานปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่มีหน่วยเป็นกิโลวัตต์- ชั่วโมง (kWh) สำ�หรับปริมาณการใช้เชื้อเพลิงมีหน่วยตามประเภทเชื้อเพลิง เช่น น้ำ�มันเชื้อเพลิง หน่วยเป็น ลิตร (l) น้ำ�มันดิบ หน่วยเป็นบาร์เรล (bbl) ก๊าซธรรมชาติ หน่วยเป็นกิโลกรัม (kg) ถ่านหิน หน่วยเป็น ตัน (t) เป็นต้น ทั้งนี้ หน่วยของปริมาณการใช้พลังงานอาจแปรผันตามขนาดและประเภทของธุรกิจ 54 3. ปริมาณการใช้พลังงานต่อหน่วย (energy intensity) ควรแสดงในรูปแบบอัตราส่วนของปริมาณ การใช้พลังงานต่อผลลัพธ์ทางการเงิน หรือขนาดของกิจกรรมที่เกิดขึ้นในธุรกิจ เช่น หน่วยการผลิต (สินค้า/บริการ) หรือพื้นที่ หรือรายได้ เป็นต้น ซึ่งสะท้อนถึงประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของการใช้ พลังงานเมื่อเทียบกับการขยายตัวหรือการเติบโตของธุรกิจ นอกจากนี้ ข้อมูลดังกล่าวยังแสดงถึง ความสามารถในการจัดการเพื่อลดการใช้พลังงานขององค์กรด้วย 4. กรณีที่บริษัทมีการใช้พลังงานทดแทน ให้รายงานข้อมูลการใช้พลังงานทดแทน โดยระบุประเภท ให้ชัดเจน เช่น พลังงานจากแสงอาทิตย์ น้ำ� ลม ขยะ ก๊าซชีวภาพ เป็นต้น 5. แหล่งศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เช่น - พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 โดย สำ�นักงานนโยบาย และแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน - พลังงานทดแทน โดย กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน - ISO 50001 - Energy management - Leadership in Energy & Environmental Design (LEED) โดย U.S. Green Building Council (USGBC) ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) GRI Standards SDGs E3 การจัดการน้ำ� E3.1C E3.3R GRI 303: Goal 6: แผนการจัดการน้ำ� เป้าหมายการใช้น้ำ� Water and Clean Effluents Water and E3.2C E3.4R Sanitation ปริมาณการใช้น้ำ� ปริมาณการใช้น้ำ�ต่อหน่วย (water intensity) E3.5R ร้อยละของน้ำ�เสียที่ได้รับการบำ�บัดก่อนทิ้ง ทำ�ไมบริษัทควรรายงาน • ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการน้ำ�ของบริษัท แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการอนุรักษ์แหล่งน้ำ� และบริหารทรัพยากรน้ำ�ในกระบวนการ ดำ�เนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณการใช้น้ำ�ประปา รวมถึงแหล่งน้ำ�ธรรมชาติ ต่าง ๆ เช่น น้ำ�ผิวดิน น้ำ�บาดาล เป็นต้น ทำ�ให้เห็นแนวโน้มการใช้ทรัพยากรน้ำ�ในแต่ละปี หากบริษัท มีปริมาณการใช้น้ำ�ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่อัตราการขยายตัวหรือการเติบโตของธุรกิจยังอยู่ ในระดับคงที่ สะท้อนถึงความสิ้นเปลืองจากการใช้น้ำ� และอาจทำ�ให้ต้นทุนในการบริหารจัดการน้ำ�สูงขึ้น จากการซ่อมบำ�รุงในระบบสาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบส่งน้ำ� ระบบประปา ระบบบำ�บัดน้ำ�เสีย เป็นต้น • ข้อมูลการจัดการน้ำ�เสียที่ได้รับการบำ�บัดก่อนทิ้ง เป็นข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการกำ�จัดสิ่งปนเปื้อนในน้ำ�เสียให้เหลือน้อยที่สุดก่อนทิ้งสู่ แหล่งน้ำ�สาธารณะ เพื่อไม่ทำ�ให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยข้อมูลปริมาณน้ำ�เสียที่ได้รับการบำ�บัด ที่น้อยกว่ามาตรฐานกำ�หนด อาจทำ�ให้เกิดความเสี่ยงจากการละเมิดกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม หรือ นำ�ไปสู่ข้อพิพาทกับชุมชน 55 ภาคผนวก แนวทางการรายงาน บริษัทควรเปิดเผยข้อมูล ดังนี้ 1. แผนการจัดการและเป้าหมายเชิงปริมาณในการจัดการน้ำ�ขององค์กร ที่แสดงถึงการพัฒนาและ ปรับปรุงการใช้น้ำ�อย่างคุ้มค่าอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดต้นทุนในการดำ�เนินธุรกิจและลดความเสี่ยงจาก การขาดแคลนทรัพยากรน้ำ�ที่มีคุณภาพ 2. ปริมาณการใช้น้ำ�ประปาและ/หรือแหล่งน้ำ�ตามธรรมชาติ เช่น น้ำ�ผิวดิน น้ำ�บาดาล หรือน้ำ�ทะเล เป็นต้น ซึ่งมาจากกิจกรรมของธุรกิจ เช่น การใช้น้ำ�ในอาคารสำ�นักงาน การใช้น้ำ�ในโรงงาน เป็นต้น รวมถึงข้อมูลปริมาณน้ำ�เสียที่ผ่านการบำ�บัดก่อนทิ้งในรูปแบบจำ�นวนเต็มและค่าร้อยละ ทั้งนี้ บริษัท ควรรายงานปริมาณการใช้น้ำ�ที่มีหน่วยเป็นลูกบาศก์เมตร (m3) ทั้งนี้ หน่วยของปริมาณการใช้น้ำ� แปรผันตามขนาดและประเภทของธุรกิจ 3. ปริมาณการใช้น้ำ�ต่อหน่วย (water intensity หรือ water footprint) ควรแสดงถึงอัตราส่วนของ ปริมาณการใช้น้ำ�ต่อผลลัพธ์ทางการเงินหรือขนาดของกิจกรรมที่เกิดขึ้นในธุรกิจ เช่น หน่วยการผลิต (สินค้า/บริการ) หรือพื้นที่ หรือรายได้ เป็นต้น สะท้อนถึงประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของการใช้น้ำ� เมื่อเทียบกับการขยายตัวหรือการเติบโตของธุรกิจ ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวยังแสดงถึงความสามารถ ในการจัดการเพื่อลดการใช้น้ำ�ขององค์กรด้วย 4. แหล่งศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เช่น - การจัดการคุณภาพน้ำ� โดย กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - ISO/DIS 24526 - Water efficiency management systems - ISO 14046 - Environmental management - Water footprint ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) GRI Standards SDGs E4 การจัดการขยะและของเสีย E4.1C E4.3R GRI 306: Goal 12: แผนการจัดการขยะ เป้าหมายการจัดการขยะและของเสีย Waste Responsible และของเสีย Consumption E4.4R and E4.2C ปริมาณขยะและของเสียที่ผ่าน Production ปริมาณขยะและของเสีย กระบวนการ reuse และ/หรือ recycle ทำ�ไมบริษัทควรรายงาน • ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการขยะและของเสีย แสดงให้เห็นถึงแนวทางการป้องกันการลดการกำ�จัด ตลอดจนแนวทางการควบคุมมลพิษจากการ ทิ้งขยะและของเสียที่อาจเกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณขยะและของเสียแสดงถึง แนวโน้มการสร้างขยะและของเสียทั้งที่เป็นอันตรายหรือไม่เป็นอันตรายจากกระบวนการดำ�เนิน ธุรกิจ หากบริษัทมีปริมาณขยะและของเสียสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่อัตราการขยายตัวหรือ การเติบโตของธุรกิจยังอยู่ในระดับคงที่ สะท้อนถึงความสิ้นเปลืองจากการใช้วัตถุดิบและค่าใช้จ่าย ในการกำ�จัดขยะและของเสียอาจสูงขึ้นด้วย • ข้อมูลปริมาณขยะและของเสียที่เข้าสู่กระบวนการ reuse/recycle แสดงให้เห็นถึงความเคลื่อนไหวของอัตราส่วนของการลดปริมาณขยะและของเสียจากกระบวนการ ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัท อีกทั้งช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 56 แนวทางการรายงาน บริษัทควรเปิดเผยข้อมูล ดังนี้ 1. แผนการจัดการและเป้าหมายการลดปริมาณขยะและของเสียจากกระบวนการดำ�เนินธุรกิจ 2. ปริมาณขยะหรือของเสียที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจในห่วงโซ่คุณค่า จำ�แนกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ขยะที่เป็นอันตรายและขยะที่ไม่เป็นอันตราย ทั้งนี้ บริษัทควรรายงานปริมาณขยะและของเสียที่มี หน่วยเป็นกิโลกรัม (kg) หรือตัน (t) 3. ปริมาณขยะหรือของเสียที่ผ่านกระบวนการ reuse และ/หรือ recycle (ถ้ามี) ซึ่งบริษัทอาจเป็น ผู้ดำ�เนินงานเองและ/หรือส่งให้หน่วยงานภายนอกเป็นผู้ดำ�เนินงาน 4. แนวทางหรือวิธีการกำ�จัดขยะหรือของเสียของบริษัท เช่น การฝังกลบ การเผาทำ�ลาย เป็นต้น 5. แหล่งศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เช่น - การจัดการของเสีย โดย กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - ISO14001 - Environmental management ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) GRI Standards SDGs E5 การจัดการก๊าซเรือนกระจก E5.1C E5.4R GRI 305: Goal 13: แผนการจัดการก๊าซเรือนกระจก เป้าหมายการจัดการก๊าซเรือนกระจก Emissions Climate Action E5.2C E5.5R ปริมาณการปล่อย ปริมาณการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกรวมของ ก๊าซเรือนกระจกรวมของขอบเขตที่ 1 ขอบเขตที่ 1 และขอบเขตที่ 2 ขอบเขตที่ 2 และขอบเขตที่ 3 E5.3C E5.6R การทวนสอบข้อมูลปริมาณ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ต่อหน่วย (carbon intensity) โดยหน่วยงานภายนอก ทำ�ไมบริษัทควรรายงาน • ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการก๊าซเรือนกระจก4 เป็นข้อมูลสำ�คัญที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามของธุรกิจในการควบคุมและลดปริมาณการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุสำ�คัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ หากบริษัท สามารถประเมินความเสี่ยงและกำ�หนดมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ จะทำ�ให้บริษัทเห็นโอกาสของการนำ�พลังงานทดแทนมาพัฒนาธุรกิจ 4 ก๊าซเรือนกระจกมีคุณสมบัติดูดซับรังสีความร้อนหรือรังสีอินฟาเรด จึงช่วยรักษาอุณหภูมิในบรรยากาศของโลก ให้คงที่ หากมีปริมาณมากเกินไปจะทำ�ให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น ซึ่งปัจจุบันก๊าซเรือนกระจกถือเป็นปัจจัยสำ�คัญที่มี ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) ทำ�ให้ทุกภาคส่วนสนับสนุนให้ ธุรกิจต้องมีการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ก๊าซเรือนกระจกประกอบด้วยก๊าซ 7 ชนิด ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซมีเทน (CH4) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N20) ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFC) ก๊าซเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFC) ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) และก๊าซไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ (NF3) 57 ภาคผนวก • ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีแหล่งกำ�เนิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร เช่น การใช้ไฟฟ้าในกระบวนการผลิตหรือบริการ การใช้น้ำ�มันเชื้อเพลิงในการขนส่ง เป็นต้น หากบริษัทมีแนวโน้มปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่อัตราการขยายตัวของธุรกิจยังอยู่ในระดับคงที่ จะทำ�ให้เห็นถึง ความไม่สมดุลของต้นทุนการใช้พลังงานและทรัพยากรกับความสามารถในการทำ�กำ�ไร อีกทั้ง สะท้อนถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการดำ�เนินธุรกิจ แนวทางการรายงาน บริษัทควรเปิดเผยข้อมูล ดังนี้ 1. แผนการจัดการและเป้าหมายการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมองค์กร 2. ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามแหล่งกำ�เนิด โดยมีหน่วยเป็นตันคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่า (tCO2e) ประกอบด้วย 3 ขอบเขต ได้แก่ ขอบเขตที่ 1 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง เช่น การเผาไหม้ของเครื่องจักร การใช้พาหนะที่เป็น สินทรัพย์ขององค์กร การใช้สารเคมีในการบำ�บัดน้ำ�เสียและระบบทำ�ความเย็น เป็นต้น ขอบเขตที่ 2 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม เช่น การซื้อพลังงานไฟฟ้า หรือไอน้ำ�มาใช้ เป็นต้น ขอบเขตที่ 3 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ (ถ้ามี) เช่น การใช้น้ำ�ประปา การเดินทางของ พนักงาน การฝังกลบขยะ การใช้พลังงานและทรัพยากรของผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่ คุณค่า เป็นต้น 3. วิธีการคำ�นวณขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CO2e) = ข้อมูลการใช้พลังงานและวัตถุดิบ X emission factor สามารถดูค่า emission factor ได้ที่ http://thaicarbonlabel.tgo.or.th/download/list/list.pnc 4. ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วย (carbon intensity) ควรแสดงถึงอัตราส่วนของปริมาณ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อผลลัพธ์ทางการเงิน หรือขนาดของกิจกรรมที่เกิดขึ้นในธุรกิจ เช่น หน่วยการผลิต (สินค้า/บริการ) หรือพื้นที่ หรือรายได้ เป็นต้น ทั้งนี้ ข้อมูล carbon intensity ยังสะท้อนถึง ประสิทธิภาพและความสามารถในการควบคุมและลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก เมื่อเทียบกับการขยายตัว หรือการเติบโตของธุรกิจ 5.เปิดเผยรายชื่อบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่ทำ�การทวนสอบข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกของบริษัท โดยรายชื่อดังกล่าวต้องขึ้นทะเบียนกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก หรือได้รับอนุญาตให้ทวนสอบข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐานสากล 6. แหล่งศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เช่น - Task Force on Climate-related Financial Disclosures (TCFD) - Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) - องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) 58 มิติสังคม S ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) GRI Standards SDGs S1 สิทธิมนุษยชน S1.1C S1.2R GRI 412: Goal 8: นโยบายและแนวปฏิบัติ การประเมินความเสี่ยงจากการละเมิด Human Rights Decent ด้านสิทธิมนุษยชน สิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านในการดำ�เนิน Assessment Economic Work and ธุรกิจ (Human Rights Due Diligence: Growth HRDD) พร้อมมาตรการป้องกัน S1.3R จำ�นวนเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการละเมิด สิทธิมนุษยชน พร้อมมาตรการแก้ไข และเยียวยา ทำ�ไมบริษัทควรรายงาน • เนื่องจากในกระบวนการทำ�ธุรกิจบนห่วงโซ่คุณค่าของบริษัทเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียหลากหลายกลุ่ม ทำ�ให้การดำ�เนินธุรกิจอาจส่งผลกระทบทางบวกและทางลบต่อมนุษย์โดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม ดังนั้น จุดเริ่มของการดูแลผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นธรรมจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่ดี ต่อการดำ�เนินธุรกิจโดยไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน แนวทางการรายงาน บริษัทควรเปิดเผยข้อมูล ดังนี้ 1. สาระสำ�คัญของนโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทที่ครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งในองค์กรและห่วงโซ่อุปทาน 2. สาระสำ�คัญของแผนการดำ�เนินงานตั้งแต่การประเมินผลกระทบ มาตรการป้องกันความเสี่ยง และมาตรการเยียวยากรณีเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน 3. สรุปผลการติดตาม ทบทวน และปฏิบัติตามนโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนที่บริษัทกำ�หนด ในรอบปีที่ผ่านมา 4. จำ�นวนเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนครอบคลุมกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้อง กับการดำ�เนินธุรกิจ เช่น พนักงาน ลูกจ้าง แรงงานของบริษัทและคู่ค้า ลูกค้า ชุมชน และสังคม เป็นต้น พร้อมอธิบายมาตรการแก้ไขและเยียวยาจากเหตุการณ์ดังกล่าวโดยสังเขป 5. แหล่งศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เช่น - Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR - United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights หรือ UNGP 59 ภาคผนวก ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) GRI Standards SDGs S2 การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม การจ้างงาน S2.1C GRI 401: Goal 5: จำ�นวนพนักงานแยกตามเพศ อายุ Employment Gender ระดับตำ�แหน่ง และพื้นที่ภูมิลำ�เนา GRI 405: Equality Diversity Goal 10: S2.2C and Equal Reduced จำ�นวนพนักงานผู้พิการและ/หรือ Opportunity Inequalities ผู้สูงอายุ ทำ�ไมบริษัทควรรายงาน • ข้อมูลการจ้างงานของบริษัท สะท้อนถึงการสร้างโอกาสทางสังคมอย่างเท่าเทียมและไม่แบ่งแยกเพศ อายุ เชื้อชาติ ภูมิลำ�เนา และ ความพิการ นอกจากนี้ สถิติจำ�นวนพนักงานยังแสดงให้เห็นถึงความเหมาะสมของขนาดและโครงสร้าง องค์กรเมื่อเทียบกับลักษณะการประกอบธุรกิจ เช่น จำ�นวนพนักงานในแต่ละช่วงอายุจะแสดงให้ เห็นถึงประสบการณ์ของพนักงานแต่ละช่วงวัย หากมีจำ�นวนพนักงานที่อยู่ในช่วงอายุน้อยมากเกินไป อาจทำ�ให้ธุรกิจขาดแคลนผู้มีประสบการณ์ หรือถ้ามีพนักงานในช่วงใกล้เกษียณมากเกินไป อาจทำ�ให้ ธุรกิจมีความเสี่ยงต่อการขาดแคลนแรงงาน เป็นต้น ซึ่งข้อมูลนี้จะช่วยให้บริษัทตระหนักถึงการเตรียม ความพร้อมของบุคลากรให้รองรับอนาคตมากยิ่งขึ้น สำ�หรับการจำ�แนกประเภทของพนักงาน จะสะท้อนถึงความหลากหลายทางเพศ อายุ บทบาท ความรับผิดชอบตามตำ�แหน่งงาน และพื้นที่ ภูมิลำ�เนา รวมถึงการสร้างโอกาสให้แก่ผู้พิการ5 และผู้สูงอายุ6 แนวทางการรายงาน บริษัทควรเปิดเผยข้อมูล ดังนี้ 1. สถิติจำ�นวนพนักงานในรอบปีที่ผ่านมาแยกตามเพศ อายุ และระดับตำ�แหน่ง เช่น ระดับปฏิบัติการ ระดับบริหาร และผู้บริหารระดับสูง โดยมีตัวอย่างการรายงาน ดังนี้ จำ�นวนพนักงาน จำ�นวนพนักงาน จำ�นวนผู้บริหาร ช่วงอายุ ระดับปฏิบัติการ ระดับบริหาร ระดับสูง หญิง ชาย หญิง ชาย หญิง ชาย น้อยกว่า 30 ปี 30-50 ปี มากกว่า 50 ปี จำ�นวนรวม 5 ผู้พิการ หมายถึง บุคคลซึ่งมีข้อจำ�กัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำ�วัน หรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมี ความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญาและการเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใด ประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่าง ๆ และมีความจำ�เป็นพิเศษที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือ 6 (ที่มา: พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550) ผู้สูงอายุ หมายถึง ประชากรทั้งเพศชายและเพศหญิงซึ่งมีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป โดยเป็นการนิยามนับตั้งแต่ อายุเกิด (ที่มา: องค์การสหประชาชาติ) 60 2. สถิติจำ�นวนพนักงานแยกตามถิ่นพำ�นักหรือภูมิลำ�เนาของพนักงาน โดยแบ่งตามพื้นที่ เช่น จังหวัด ภูมิภาค หรือประเทศ เป็นต้น จังหวัด ภูมิภาค ประเทศ ชื่อจังหวัด จำ�นวน ชื่อจังหวัด จำ�นวน ชื่อจังหวัด จำ�นวน จำ�นวนรวม จำ�นวนรวม จำ�นวนรวม 3. สถิติจำ�นวนพนักงานผู้พิการและ/หรือผู้สูงอายุ กรณีไม่มีการจ้างงานผู้พิการ โปรดระบุเหตุผล และการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 เพื่อให้ คนพิการมีโอกาสในการประกอบอาชีพและใช้ศักยภาพในการพึ่งพาตนเองได้ 4. บริษัทควรเปิดเผยจำ�นวนที่สามารถเปรียบเทียบได้ เช่น จำ�นวนเต็ม ค่าเฉลี่ย ร้อยละ สัดส่วน หรือ อัตราส่วน เป็นต้น โดยอาจนำ�เสนอในรูปแบบตาราง กราฟ รูปภาพ ตามความเหมาะสม 5. แหล่งศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เช่น - คู่มือการให้บริการมาตรา 33 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 โดย กรมการจัดหางาน กระทรวง แรงงาน ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) GRI Standards SDGs การจ่ายค่าตอบแทนพนักงาน S2.3C S2.5R GRI 405: Goal 5: จำ�นวนค่าตอบแทนรวมของพนักงาน ความแตกต่างของค่าตอบแทน Diversity Gender ระหว่างเพศ and Equal Equality Opportunity S2.4C ร้อยละของพนักงานที่เป็นสมาชิก กองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพ ทำ�ไมบริษัทควรรายงาน • ข้อมูลเกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนของพนักงาน สะท้อนถึงจำ�นวนค่าตอบแทนที่สัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานของพนักงานและผลประกอบการ ของธุรกิจ นอกจากนี้ การรายงานข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพ (Provident Fund: PVD) แสดงให้เห็นว่า บริษัทตระหนักถึงการออมเงินของพนักงานเพื่อสร้างหลักประกันทางการเงิน ของพนักงานก่อนเข้าสู่วัยเกษียณ โดยการนำ�เสนอข้อมูลการจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการ ของพนักงานอย่างเหมาะสมและโปร่งใสเป็นระบบ สามารถจูงใจให้บุคลากรที่มีศักยภาพเกิด ความสนใจร่วมงานกับองค์กรด้วย • ข้อมูลเปรียบเทียบค่าตอบแทนของพนักงานหญิงต่อพนักงานชาย สะท้อนให้เห็นว่า บริษัทคำ�นึงถึง gender pay gap และมุ่งสร้างความมั่นคงทางการเงินของพนักงาน หญิงและพนักงานชายอย่างเท่าเทียม 61 ภาคผนวก แนวทางการรายงาน บริษัทควรเปิดเผยข้อมูล ดังนี้ 1. จำ�นวนเงินค่าตอบแทนรวมของพนักงานทั้งหมดในรอบปีที่ผ่านมา 2. สัดส่วนความแตกต่างของค่าตอบแทนระหว่างเพศของพนักงาน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การคำ�นวณค่าตอบแทนเฉลี่ยของพนักงานหญิง (F) F = ค่าตอบแทนรวมของพนักงานหญิง ÷ จำ�นวนพนักงานหญิง ขั้นตอนที่ 2 การคำ�นวณค่าตอบแทนเฉลี่ยของพนักงานชาย (M) M = ค่าตอบแทนรวมของพนักงานชาย ÷ จำ�นวนพนักงานชาย ขั้นตอนที่ 3 การแสดงสัดส่วนค่าตอบแทนของพนักงานหญิงต่อชาย คือ X : 1 X= F M ตัวอย่าง บริษัท ก. มีค่าตอบแทนเฉลี่ยของพนักงานชายเท่ากับ 342 บาท/คน/ปี ค่าตอบแทนเฉลี่ยพนักงาน หญิงเท่ากับ 320 บาท/คน/ปี ต้องการทราบสัดส่วนค่าตอบแทนของพนักงานหญิงต่อชาย X : 1 320 = 0.93 X = 342 ดังนั้น บริษัท ก. มีสัดส่วนค่าตอบแทนของพนักงานหญิงต่อชาย เท่ากับ 0.93 : 1 หมายความว่า พนักงานชายของบริษัท ก. ได้รับค่าตอบแทนสูงกว่าพนักงานหญิงประมาณ 7% 3. จำ�นวนพนักงานที่เป็นสมาชิกกองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพ (PVD) ของบริษัทในรูปแบบค่าร้อยละ ดังนี้ ร้อยละของพนักงานที่เป็นสมาชิกกองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพ = X% X = ผลรวมจำ�นวนพนักงานที่เป็นสมาชิก PVD × 100 จำ�นวนพนักงานทั้งหมด ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) GRI Standards SDGs การพัฒนาพนักงาน S2.6C S2.8R GRI 404: Goal 4: แผนงานหรือกิจกรรม แผนการพัฒนาพนักงานเป็นส่วนหนึ่ง Training and Quality เกี่ยวกับการพัฒนาพนักงาน ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน Education Education ประจำ�ปีของพนักงาน S2.7C จำ�นวนชั่วโมงอบรมความรู้ S2.9R เฉลี่ยของพนักงาน เป้าหมายการพัฒนาพนักงาน S2.10R จำ�นวนค่าใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาพนักงาน S2.11R ประโยชน์ที่พนักงานและ/หรือองค์กร ได้รับจากการพัฒนาพนักงาน 62 ทำ�ไมบริษัทควรรายงาน • ข้อมูลการพัฒนาพนักงาน แสดงให้เห็นถึงทิศทางและเป้าหมายของบริษัทในการเสริมสร้างความรู้และเพิ่มพูนทักษะที่จำ�เป็น ต่อการปฏิบัติงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามกลยุทธ์ที่กำ�หนดไว้ โดยแนวทางที่จะเสริมสร้างความรู้ และทักษะให้แก่พนักงานอาจทำ�ได้หลายวิธี เช่น การอบรมสัมมนา การศึกษาดูงาน การให้ทุน การศึกษา หรือการประกวดแนวคิดเชิงนวัตกรรมที่ช่วยรองรับการเติบโตของบริษัทในอนาคต เป็นต้น ทั้งนี้ ผลลัพธ์ของการพัฒนาพนักงานควรวัดและประเมินได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่ง ของการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน • ข้อมูลผลลัพธ์จากการพัฒนาพนักงานของบริษัท เช่น จำ�นวนชั่วโมงอบรมความรู้เฉลี่ย สะท้อนถึงอัตราการเข้าร่วมและความสนใจในกิจกรรม หรือ หลักสูตรที่บริษัทจัดสรรหาให้ ขณะเดียวกันค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาพนักงานสะท้อนถึง ความสัมพันธ์ของต้นทุนด้านการพัฒนาพนักงานกับการเติบโตทางธุรกิจ นอกจากนี้ การวิเคราะห์ ประโยชน์จากการพัฒนาพนักงานยังเป็นประโยชน์ต่อการวางแผน เพื่อเตรียมพร้อมพนักงาน ให้มีศักยภาพและความก้าวหน้าในสายอาชีพที่สอดคล้องกับทิศทางการเติบโตในอนาคต ซึ่งเป็น แนวทางหนึ่งของการรักษาพนักงานด้วย แนวทางการรายงาน บริษัทควรเปิดเผยข้อมูล ดังนี้ 1. ภาพรวมของแผนและเป้าหมายการพัฒนาพนักงานของบริษัทในรอบปีที่ผ่านมาโดยสังเขป 2. แผนฝึกอบรม หรือหลักสูตร หรือกิจกรรม หรือโครงการที่ช่วยเสริมสร้างความรู้และเพิ่มพูนทักษะ ของพนักงานในแต่ละระดับอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาธุรกิจ 3. สรุปผลลัพธ์และประโยชน์จากการปฏิบัติตามแผนพัฒนาพนักงาน รวมถึงผลการดำ�เนินงานเมื่อเทียบ กับเป้าหมายและค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและ/หรือพัฒนาพนักงาน เพื่อสะท้อนความคุ้มค่าของ การลงทุนด้านทรัพยากรบุคคลขององค์กร 4.จำ�นวนชั่วโมงอบรมความรู้เฉลี่ยของพนักงานต่อคนต่อปี โดยมีแนวทางนำ�เสนอข้อมูล ดังนี้ จำ�นวนชั่วโมงอบรมความรู้เฉลี่ยของพนักงานต่อคนต่อปี = X X = ผลรวมของจำ�นวนชั่วโมงอบรมความรู้ของพนักงานทั้งหมด จำ�นวนพนักงานทั้งหมด หมายเหตุ หลักเกณฑ์ในการคำ�นวณชั่วโมงอบรมความรู้ของพนักงานควรนับเวลาตั้งแต่เริ่มอบรมไปจนสิ้นสุดการ อบรมหรือสัมมนา โดยไม่นับเวลาเดินทาง ลงทะเบียน และการพักรับประทานอาหาร เป็นต้น ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) GRI Standards SDGs ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำ�งาน S2.12C S2.14R GRI 403: Goal 3: แผนงาน หรือกิจกรรมเกี่ยวกับการ เป้าหมายการพัฒนาความปลอดภัย Occupational Good Health พัฒนาความปลอดภัย อาชีวอนามัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมใน Health and and และสภาพแวดล้อมในการทำ�งาน การทำ�งาน Safety Well-being S2.13C S2.15R Goal 8: Decent Work จำ�นวนเหตุการณ์หรือกรณีบาดเจ็บ อัตราการบาดเจ็บจากการทำ�งาน and Economic จากการทำ�งานถึงขั้นหยุดงาน ถึงขั้นหยุดงาน (Lost Time Injury Growth Frequency Rate: LTIFR) 63 ภาคผนวก ทำ�ไมบริษัทควรรายงาน • ข้อมูลเกี่ยวกับการดำ�เนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำ�งาน แสดงให้เห็นถึงมาตรการลดความเสี่ยงของเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของพนักงาน และ/หรือแรงงาน นอกจากนี้ ข้อมูลสถิติอุบัติเหตุหรือจำ�นวนเหตุการณ์เจ็บป่วย/การบาดเจ็บ จากการทำ�งานสะท้อนให้เห็นถึงผลลัพธ์จากการดำ�เนินงานด้านความปลอดภัยของบริษัท หากจำ�นวน เหตุการณ์หรือกรณีบาดเจ็บจากการทำ�งานเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจทำ�ให้ต้นทุนด้านความปลอดภัย และการเยียวยาพนักงานสูงขึ้นด้วย นอกจากนี้ ข้อมูลอัตราการบาดเจ็บจากการทำ�งานถึงขั้นหยุดงาน (LTIFR) ยังแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างสถิติเหตุการณ์บาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับผลรวมของจำ�นวน ชั่วโมงการทำ�งาน หาก LTIFR เพิ่มสูงขึ้น อาจทำ�ให้ความสามารถในการผลิตหรือการดำ�เนินธุรกิจ ลดลง หรือเป็นสาเหตุที่ทำ�ให้ธุรกิจหยุดชะงัก ทั้งนี้ ข้อมูล LTIFR ยังเป็นประโยชน์ในการกำ�หนด เป้าหมายของการพัฒนางานด้านความปลอดภัยของบริษัทด้วย แนวทางการรายงาน บริษัทควรเปิดเผยข้อมูล ดังนี้ 1. สรุปปัจจัยความเสี่ยงที่อาจทำ�ให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำ�งานในแต่ละวัน 2. เป้าหมายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำ�งาน เช่น อัตราการเสียชีวิต หรืออุบัติเหตุจากการทำ�งานเป็นศูนย์ เป็นต้น 3. แนวปฏิบัติหรือมาตรการป้องกันความเสี่ยงที่อาจทำ�ให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำ�งาน (ไม่รวมถึงการจัด ให้มีประกันชีวิต ประกันอุบัติเหตุ หรือการตรวจสุขภาพ ซึ่งเป็นการดูแลที่ปลายเหตุ) 4. สถิติการเจ็บป่วย บาดเจ็บ หรือเสียชีวิตจากการทำ�งาน จำ�แนกตามเพศ หรือสภาพการจ้างงาน เช่น พนักงานประจำ� ลูกจ้างชั่วคราว ผู้รับเหมา เป็นต้น 5. อัตราการบาดเจ็บจากการทำ�งานถึงขั้นหยุดงาน (Lost Time Injury Frequency Rate: LTIFR) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความถี่ของการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานตั้งแต่ 1 วันขึ้นไปต่อ 200,000 ชั่วโมง การทำ�งาน7 มีแนวทางนำ�เสนอข้อมูล ดังนี้ LTIFR = X ครั้ง ต่อ 200,000 ชั่วโมงการทำ�งาน ผลรวมจำ�นวนเหตุการณ์บาดเจ็บจากการทำ�งานถึงขั้นหยุดงาน (ครั้ง) × 200,000 X= จำ�นวนชั่วโมงการทำ�งานเฉลี่ยต่อวัน x จำ�นวนวันทำ�งานเฉลี่ยต่อปี x จำ�นวนพนักงานทั้งหมด 6. แหล่งศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เช่น - พระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำ�งาน พ.ศ. 2554 - ISO 45001 - Occupational health and safety 7 อ้างอิงจำ�นวนชั่วโมงการทำ�งานจากมาตรฐานสำ�นักงานบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (Occupational Safety and Health Administration หรือ OSHA) 64 ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) GRI Standards SDGs การส่งเสริมความสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมกับพนักงาน S2.16C S2.19R GRI 402: Goal 8: แผนการพัฒนาความผูกพัน เป้าหมายการพัฒนาความผูกพันและ Labor/ Decent และการรักษาพนักงาน การรักษาพนักงาน Management Work and Relations Economic GRI 407: Growth S2.17C S2.20R Freedom of ร้อยละของพนักงาน ผลประเมินความผูกพัน Association ที่ลาออกโดยสมัครใจ ของพนักงานต่อองค์กร and Collective Bargaining S2.18C S2.21R จำ�นวนข้อพิพาท การรวมกลุ่มของพนักงานเพื่อเจรจา ด้านแรงงานที่สำ�คัญ หารือกับบริษัทเกี่ยวกับผลประโยชน์ พร้อมมาตรการแก้ไข และสวัสดิการของพนักงาน ทำ�ไมบริษัทควรรายงาน • ข้อมูลเกี่ยวกับการส่งเสริมความสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมกับพนักงาน แสดงถึงความพยายามในการดูแลและมีส่วนร่วมกับพนักงานให้เกิดความรู้สึกผูกพันต่อองค์กร เพื่อรักษาพนักงานที่มีคุณภาพไว้ให้ทำ�งานร่วมกับองค์กรได้นานที่สุด ซึ่งสัมพันธ์กับสถิติการลาออก ของพนักงานที่สะท้อนถึงผลลัพธ์จากการดำ�เนินงานดังกล่าว หากสถิติการลาออกของพนักงาน มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะในตำ�แหน่งงานสำ�คัญ อาจทำ�ให้เกิดความเสี่ยงจากการขาดแคลนบุคลากร ที่มีผลต่อโครงสร้างแรงงานที่จะขับเคลื่อนธุรกิจ รวมถึงต้นทุนที่อาจเพิ่มขึ้นจากการจ้างและพัฒนา พนักงานใหม่ที่เข้ามาทดแทนพนักงานที่ลาออกไป • ข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินความผูกพันและการมีส่วนร่วมของพนักงาน โดยส่งเสริมให้เกิดการเจรจารวมกลุ่ม เช่น คณะกรรมการสวัสดิการ คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ เป็นต้น แสดงให้เห็นว่า บริษัทเปิดกว้างให้พนักงานมีช่องทางแสดงความคิดเห็น ความคาดหวัง และ มีส่วนร่วมกับนายจ้างหรือผู้บริหาร ซึ่งข้อมูลดังกล่าวยังเป็นแนวทางให้บริษัทพัฒนาแผนการดูแล และรักษาพนักงานอย่างต่อเนื่อง • ข้อมูลกรณีพิพาทด้านแรงงาน หากเกิดขึ้นบ่อยครั้งจะเป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนถึงปัญหาการจัดการแรงงานของบริษัท และหากข้อพิพาท แรงงานส่วนใหญ่นั้นเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนอาจเป็นความเสี่ยงที่สร้างผลกระทบรุนแรง จนถึงขั้นธุรกิจหยุดชะงัก แนวทางการรายงาน บริษัทควรเปิดเผยข้อมูล ดังนี้ 1. ภาพรวมของแผนและเป้าหมายการส่งเสริมความสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมกับพนักงานในรอบปี ที่ผ่านมาโดยสังเขป 65 ภาคผนวก 2. จำ�นวนพนักงานที่ลาออกโดยสมัครใจ (ไม่รวมการไล่ออกและเกษียณอายุ) ในรูปแบบค่าร้อยละ ดังนี้ ร้อยละของพนักงานที่ลาออกโดยสมัครใจ = X% ผลรวมของจำ�นวนพนักงานที่ลาออกโดยสมัครใจ X= × 100 จำ�นวนพนักงานทั้งหมด 3. ผลการสำ�รวจความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรควรครอบคลุมประเด็นสำ�คัญ เช่น ความสุข ในการทำ�งาน ความเข้าใจระหว่างเป้าหมายขององค์กรและความคาดหวังของพนักงาน ความพึงพอใจ ในผลตอบแทนและสวัสดิการของบริษัท ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและพนักงาน เป็นต้น โดยบริษัท ควรนำ�เสนอข้อมูลผลการสำ�รวจเชิงปริมาณที่สามารถเปรียบเทียบผลการดำ�เนินงานในแต่ละรอบ การสำ�รวจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจดำ�เนินการแบบรายปี หรือรายสองปีก็ได้ 4. สรุปแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งเสริมให้เกิดการเจรจาหารือระหว่างพนักงานและนายจ้างหรือผู้บริหาร ระดับสูงในเรื่องที่เกี่ยวกับผลประโยชน์และสวัสดิการของพนักงาน เช่น การจัดตั้งคณะกรรมการ สวัสดิการ คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ เป็นต้น โดยสรุปผลการหารือที่มีนัยยะต่อการเปลี่ยนแปลง ด้านผลประโยชน์และสวัสดิการของพนักงานในรอบปีที่ผ่านมา 5. จำ�นวนข้อพิพาทหรือเหตุการณ์ความขัดแย้งด้านแรงงาน พร้อมรายงานความคืบหน้าและมาตรการ แก้ไขเยียวยาเพื่อยุติข้อพิพาทดังกล่าว แสดงถึงการจัดการและควบคุมเหตุการณ์ได้อย่างทันท่วงที โดยไม่ให้เกิดความรุนแรงจนมีผลกระทบต่อธุรกิจ (ถ้าไม่มีข้อพิพาทดังกล่าวให้ระบุว่า “ไม่มี”) ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) GRI Standards SDGs S3 ความรับผิดชอบต่อลูกค้า/ผู้บริโภค สิทธิผู้บริโภค S3.1C S3.4R GRI 102-43: Goal 16: นโยบายและแนวปฏิบัติ ช่องทางที่บริษัทรับข้อร้องเรียน Approach to Peace, Justice เรื่องการรักษาข้อมูล จากลูกค้า/ผู้บริโภค stakeholder and Strong ส่วนบุคคลของลูกค้า engagement Institutions S3.5R GRI 418: S3.2C แผนการพัฒนาความพึงพอใจ Customer จำ�นวนกรณีข้อมูลลูกค้า ของลูกค้า Privacy รั่วไหลพร้อมมาตรการแก้ไข S3.6R S3.3C เป้าหมายการพัฒนาความพึงพอใจ จำ�นวนเหตุการณ์หรือข้อ ของลูกค้า ร้องเรียนที่เกี่ยวกับการ ละเมิดสิทธิผู้บริโภค S3.7R พร้อมมาตรการแก้ไข ผลประเมินความพึงพอใจของลูกค้า 66 ทำ�ไมบริษัทควรรายงาน • การคุ้มครองผู้บริโภคและการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า เป็นประเด็นพื้นฐานที่บริษัทต้องดำ�เนินการอย่างเคร่งครัด เพื่อบรรเทาความเสี่ยงจากการละเมิด กฎหมายและป้องกันเหตุการณ์หรือข้อร้องเรียนจากลูกค้า/ผู้บริโภคที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อ ภาพลักษณ์และการขายสินค้า/บริการของบริษัททั้งในระยะสั้นและระยะยาว กรณีที่เกิดการละเมิด ที่เกี่ยวกับผู้บริโภค บริษัทควรแสดงให้เห็นว่ามีแนวทางจัดการข้อร้องเรียนและมาตรการแก้ไขเยียวยา ผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้มั่นใจว่าผู้บริโภคจะได้รับความเป็นธรรม • การพัฒนาความพึงพอใจของลูกค้าของบริษัท สะท้อนถึงความพยายามในการตอบสนองความคาดหวังและการสร้างสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความไว้วางใจของลูกค้าที่มีต่อสินค้าและบริการของธุรกิจ ทำ�ให้บริษัทสามารถรักษา ลูกค้าเดิมและเพิ่มโอกาสในการสร้างฐานลูกค้าใหม่ ดังนั้น บริษัทควรประเมินความพึงพอใจของลูกค้า เพื่อวัดประสิทธิภาพและระดับการยอมรับในสินค้าและบริการ และประสบการณ์ที่ตรงตามความ คาดหวังของลูกค้า ซึ่งมีผลต่อแนวโน้มการเติบโตของกิจการ ทั้งนี้ บริษัทควรนำ�ผลการประเมิน ดังกล่าวมาปรับปรุงเพื่อรักษาความสัมพันธ์และระดับความพึงพอใจของลูกค้าต่อบริษัทอย่างต่อเนื่อง แนวทางการรายงาน บริษัทควรเปิดเผยข้อมูล ดังนี้ 1. สรุปนโยบายและแนวปฏิบัติเรื่องการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าโดยสังเขป พร้อมเปิดเผยจำ�นวน กรณีข้อมูลลูกค้ารั่วไหล (ถ้ามี) และมาตรการแก้ไขที่สะท้อนถึงการปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าว 2. แนวทางการรับข้อร้องเรียนที่เกิดจากกรณีข้อมูลลูกค้ารั่วไหลและ/หรือการละเมิดสิทธิผู้บริโภค พร้อมเปิดเผยจำ�นวนกรณีข้อมูลลูกค้ารั่วไหล และ/หรือการละเมิดสิทธิผู้บริโภค รวมถึงมาตรการ และความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาด้วย 3. สรุปแผนพัฒนาความพึงพอใจและผลประเมิน/สำ�รวจระดับความพึงพอใจของลูกค้าในด้านต่าง ๆ เช่น ความพึงพอใจที่มีต่อคุณภาพสินค้าและ/หรือบริการ ความคุ้มค่าหรือความเหมาะสมของราคา การส่งมอบสินค้าและ/หรือบริการ รวมถึงประเด็นอื่น ๆ ที่สะท้อนความผูกพันที่มีต่อตราสินค้า บริการหรืออื่น ๆ โดยอาจนำ�เสนอในรูปแบบคะแนนเฉลี่ยหรือร้อยละ เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบ ผลลัพธ์สำ�หรับนำ�ไปพัฒนาแผนการดำ�เนินงานอย่างต่อเนื่อง 4. แหล่งศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เช่น - พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 - The EU General Data Protection Regulation (GDPR) - ISO 10001:2018 Quality management - Customer satisfaction - Guidelines for codes of conduct for organizations ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) GRI Standards SDGs การตลาดและโฆษณาอย่างรับผิดชอบ S3.8R GRI 417: Goal 3: แนวปฏิบัติด้านการตลาดและโฆษณา Marketing Good อย่างรับผิดชอบ and Labeling Health and Well-being S3.9R แนวปฏิบัติการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบ ของสินค้าและบริการแก่ลูกค้า/ผู้บริโภค 67 ภาคผนวก ทำ�ไมบริษัทควรรายงาน • การจัดทำ�แผนการตลาดและโฆษณาสินค้าและบริการ หรือรูปแบบกิจกรรมส่งเสริมการขาย โดยคำ�นึงถึงผลกระทบเกี่ยวกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมถึงการสื่อสารข้อมูลผลกระทบ จากการใช้สินค้าและ/หรือบริการอย่างถูกต้องและครบถ้วนต่อลูกค้า ผู้ใช้งาน หรือผู้บริโภค จะทำ�ให้ ผู้มีส่วนได้เสียมั่นใจว่า บริษัทสามารถใช้เครื่องมือทางการตลาดอย่างรับผิดชอบ ช่วยลดความเสี่ยง จากการถูกกีดกันทางการค้า และสร้างโอกาสให้ผู้บริโภคเกิดความผูกพันต่อแบรนด์ในระยะยาว แนวทางการรายงาน บริษัทควรเปิดเผยข้อมูล ดังนี้ 1. สาระสำ�คัญของแนวปฏิบัติและผลการดำ�เนินงานตามแผนการตลาดหรือการขาย ที่แสดงให้เห็นว่า บริษัทมีความพยายามใช้เครื่องมือสื่อสารทางการตลาด โดยคำ�นึงถึงผลกระทบต่อลูกค้า/ผู้บริโภค และไม่สนับสนุนการโฆษณาหรือกิจกรรมส่งเสริมการขายที่สนับสนุนให้มีการกระทำ�ผิดกฎหมาย หรือศีลธรรม 2. สาระสำ�คัญของแนวปฏิบัติและผลการดำ�เนินงานตามมาตรการสื่อสารข้อมูลสินค้าหรือบริการที่เป็น ประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคอย่างโปร่งใสและครบถ้วน โดยอาจระบุข้อมูลหรือคำ�เตือน เกี่ยวกับการใช้สินค้าและ/หรือบริการบนคู่มือการใช้ ฉลากสินค้า หรือบรรจุภัณฑ์ อีกทั้งไม่สื่อสาร ข้อความที่เกินจริงหรือก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) GRI Standards SDGs S4 ความรับผิดชอบต่อชุมชน/สังคม S4.1C S4.4R GRI 413: Goal 8: นโยบายการพัฒนาและมีส่วน เป้าหมายการพัฒนาและมีส่วนร่วม Local Decent ร่วมกับชุมชน/สังคมที่อาจ กับชุมชน/สังคมที่อาจได้รับ Communities Work and Economic ได้รับผลกระทบจากธุรกิจ ผลกระทบจากธุรกิจ Growth S4.2C S4.5R แผนส่งเสริมการพัฒนาและมี ประโยชน์จากโครงการหรือกิจกรรม ส่วนร่วมกับชุมชน/สังคมที่อาจ เพื่อการพัฒนาและช่วยเหลือชุมชน/ ได้รับผลกระทบจากธุรกิจ สังคม S4.3C S4.6R จำ�นวนข้อพิพาทกับชุมชน/ จำ�นวนเงินรวมที่ใช้ในโครงการ สังคม พร้อมมาตรการแก้ไข หรือกิจกรรม เพื่อการพัฒนาและ ช่วยเหลือชุมชน/สังคม 68 ทำ�ไมบริษัทควรรายงาน • ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาและมีส่วนร่วมกับชุมชน/สังคม สะท้อนถึงความรับผิดชอบและความเอาใจใส่ของบริษัทที่จะลดผลกระทบจากการดำ�เนินธุรกิจ ต่อชุมชน/สังคมให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับความพยายามที่จะยกระดับ ความเป็นอยู่และสานประโยชน์สู่ผู้คนในชุมชน/สังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างต่อเนื่อง • ข้อมูลเกี่ยวกับข้อพิพาทกับชุมชน สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของบริษัทในการส่งเสริมสัมพันธภาพกับชุมชนและการปฏิบัติตาม กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น สิทธิชุมชน สิทธิมนุษยชน หรือกฎหมายสิ่งแวดล้อม เป็นต้น อีกทั้ง แสดงถึง ประสิทธิภาพในการจัดการข้อร้องเรียนจากชุมชนให้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้ และไม่ส่งผลกระทบ รุนแรงจนธุรกิจหยุดชะงัก หรือทำำให้โครงการต่าง ๆ ของธุรกิจไม่สามารถดำำเนินการต่อไปได้ หากบริษัทมีจำำนวนข้อพิพาทมากขึ้นหรือมีแนวโน้มที่รุนแรงขึ้น อาจสะท้อนให้เห็นถึงความเป็น ไปได้ที่ความสามารถในการดำำเนินธุรกิจของบริษัทจะลดลงและอาจมีต้นทุนที่สูงขึ้นจากมาตรการ แก้ไขและเยียวยา แนวทางการรายงาน บริษัทควรเปิดเผยข้อมูล ดังนี้ 1. สาระสำ�คัญของนโยบายที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นที่จะป้องกันและลดผลกระทบจากการดำ�เนินธุรกิจ ต่อชุมชน/สังคมอย่างรับผิดชอบ รวมถึงแนวปฏิบัติหรือมาตรการเยียวยาชุมชน/สังคมอย่างเป็นธรรม อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายดังกล่าวอาจเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายและแนวปฏิบัติด้าน สิทธิมนุษยชนของบริษัทก็ได้ 2. เป้าหมายการพัฒนาและมีส่วนร่วมกับชุมชนที่อาจได้รับผลกระทบจากธุรกิจ โดยบริษัทควรเปิดเผย เป้าหมายเชิงปริมาณที่สามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น การลดจำ�นวนข้อร้องเรียน หรือกรณี พิพาทของชุมชนที่เกิดจากกิจกรรมหรือการดำ�เนินธุรกิจของบริษัท เป็นต้น 3. แผนการพัฒนาสังคม/ชุมชนที่สอดคล้องกับลักษณะการดำ�เนินงานของธุรกิจ เช่น - สำ�รวจความพึงพอใจของชุมชน เพื่อนำ�มากำ�หนดวิธีดำ�เนินงานให้สอดคล้องกับความต้องการ ของทั้งชุมชนและบริษัท - วิเคราะห์ประโยชน์ที่ชุมชนและบริษัทได้รับจากการพัฒนาชุมชนหรือการแก้ไขปัญหาสังคม - สนับสนุนให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยใช้ทรัพยากรศักยภาพ และความสามารถ ทางธุรกิจในการสร้างความเข้มแข็งและยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ชุมชน/สังคม 4. ประโยชน์จากโครงการหรือกิจกรรมเพื่อการพัฒนาและช่วยเหลือชุมชน/สังคม ที่แสดงให้เห็นผลลัพธ์ และประสิทธิภาพของการดำ�เนินงานตามแผน โดยอาจแสดงข้อมูลประโยชน์ที่เป็นตัวเงิน เช่น รายได้ ต่อครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น หรือข้อมูลที่ไม่เป็นตัวเงิน เช่น จำ�นวนคู่ค้าท้องถิ่นเพิ่มขึ้น เป็นต้น 5. กรณีที่บริษัทมีกรณีพิพาทเรื่องการดูแลสังคม/ชุมชน บริษัทควรรายงานจำ�นวนข้อร้องเรียน ผลกระทบ ที่เกิดขึ้น รวมถึงมาตรการแก้ไขและเยียวยาด้วย 6. จำ�นวนเงินที่ใช้ในโครงการหรือกิจกรรมเพื่อการพัฒนาและช่วยเหลือชุมชน/สังคมที่แสดงให้เห็นถึง ความเหมาะสมของแผนงานและความสอดคล้องกับประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการหรือกิจกรรม ดังกล่าว อีกทั้งสะท้อนให้เห็นถึงความคุ้มค่าและประสิทธิภาพจากการดำ�เนินโครงการหรือกิจกรรม ของบริษัท 69 ภาคผนวก มิติบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ G ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) GRI Standards SDGs G1 นโยบาย โครงสร้าง และระบบกำ�กับดูแลกิจการ องค์ประกอบของคณะกรรมการ G1.1C GRI 102-18: Goal 5: ประวัติของคณะกรรมการบริษัทรายบุคคล Governance Gender Structure Equality G1.2C Goal 16: Peace, จำ�นวนกรรมการทั้งคณะ Justice and G1.3C Strong จำ�นวนกรรมการอิสระ Institutions G1.4C จำ�นวนกรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร G1.5C จำ�นวนกรรมการหญิง G1.6C ประธานกรรมการเป็นกรรมการอิสระ G1.7C ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ ไม่เป็นบุคคลเดียวกัน G1.8C จำ�นวนกรรมการอิสระในคณะกรรมการ ชุดย่อยแต่ละชุด G1.9C ประธานของคณะกรรมการชุดย่อย แต่ละชุดเป็นกรรมการอิสระ G1.10C จำ�นวนปีการดำ�รงตำ�แหน่งของกรรมการ รายบุคคล 70 ทำ�ไมบริษัทควรรายงาน • องค์ประกอบของคณะกรรมการ ถือเป็นข้อมูลสำ�คัญที่สะท้อนให้เห็นว่า ระบบโครงสร้างการกำ�กับดูแลของบริษัทมีความโปร่งใส และเป็นอิสระ โดยบริษัทควรกำ�หนดจำ�นวนของกรรมการให้มีเพียงพอและเหมาะสมกับลักษณะ การประกอบธุรกิจ อีกทั้งควรกำ�หนดคุณสมบัติของกรรมการให้เกิดความหลากหลายเพื่อให้เห็น มุมมองต่าง ๆ ที่อาจเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนธุรกิจ โดยเฉพาะการส่งเสริมให้มีกรรมการ ที่เป็นผู้หญิง เพื่อสนับสนุนเรื่องสิทธิความเท่าเทียมกันระหว่างเพศในภาคธุรกิจ แนวทางการรายงาน บริษัทควรเปิดเผยข้อมูล ดังนี้ 1. รายชื่อ ประวัติ และข้อมูลเกี่ยวกับการดำ�รงตำ�แหน่งของคณะกรรมการรายบุคคล 2. โครงสร้างและองค์ประกอบของคณะกรรมการ เช่น จำ�นวนกรรมการหญิง จำ�นวนกรรมการอิสระ จำ�นวนกรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร ความเป็นอิสระของประธานกรรมการ รวมถึงระยะเวลา ในการดำ�รงตำ�แหน่งของกรรมการรายบุคคล เป็นต้น 3.รายชื่อและข้อมูลสำ�คัญของคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการชุดย่อยอื่น ๆ เช่น คณะกรรมการสรรหา คณะกรรมการกำ�หนดค่าตอบแทน คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และ คณะกรรมการด้านบรรษัทภิบาลและ/หรือการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นต้น พร้อมระบุตำ�แหน่งของ ประธานและกรรมการอิสระของคณะกรรมการชุดย่อยแต่ละชุด 4. โครงสร้างและองค์ประกอบของคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการชุดย่อยอื่น ๆ 5. แหล่งศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เช่น - หลักการกำ�กับดูแลกิจการที่ดีสำ�หรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560 (CG Code) โดยสำ�นักงาน คณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) GRI Standards SDGs บทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมการ G1.11C G1.17R GRI 102-26: Goal 16: จำ�นวนครั้งการประชุมของคณะกรรมการ ผลการปฏิบัติตามแผน Role of highest Peace, การสืบทอดตำ�แหน่ง governance Justice body in and Strong G1.12C setting purpose, Institutions ผลการดำ�เนินงานของคณะกรรมการ values, and บริษัท strategy G1.13C จำ�นวนครั้งการประชุมของคณะกรรมการ ตรวจสอบ 71 ภาคผนวก ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) GRI Standards SDGs G1.14C GRI 102-26: Goal 16: ผลการดำ�เนินงานของคณะกรรมการ Role of highest Peace, ตรวจสอบ governance Justice body in and Strong setting purpose, Institutions G1.15C values, and จำ�นวนครั้งการประชุมของ strategy คณะกรรมการชุดย่อยแต่ละชุด G1.16C ผลการดำ�เนินงานของคณะกรรมการ ชุดย่อยแต่ละชุด ทำ�ไมบริษัทควรรายงาน • บทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ถือเป็นข้อมูลสำ�คัญที่สะท้อนถึงการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการอย่างเต็มความสามารถ มีความโปร่งใสและมีจริยธรรม นอกจากนี้ การเปิดเผยข้อมูลบทบาทและความรับผิดชอบของ คณะกรรมการ ทั้งการเข้าร่วมประชุม การให้คำ�ปรึกษา และการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน ของฝ่ายจัดการจะสะท้อนผลลัพธ์ที่มีประสิทธิผล สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ กลยุทธ์ พันธกิจ และแผนงานขององค์กรที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อบริษัท ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสีย แนวทางการรายงาน บริษัทควรเปิดเผยข้อมูล ดังนี้ 1. จำ�นวนครั้งที่จัดประชุมและอัตราการเข้าประชุมของคณะกรรมการรายบุคคล โดยบริษัทสามารถ นำ�เสนอข้อมูลในรูปแบบตารางหรือแผนภาพที่ทำ�ให้ผู้มีส่วนได้เสียเกิดความเข้าใจได้ง่าย 2. จำ�นวนครั้งที่จัดประชุมและอัตราการเข้าประชุมของคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการ ชุดย่อยอื่น ๆ เช่น คณะกรรมการสรรหา คณะกรรมการกำ�หนดค่าตอบแทน คณะกรรมการบริหาร ความเสี่ยง และคณะกรรมการด้านบรรษัทภิบาลและ/หรือการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยบริษัทสามารถ นำ�เสนอข้อมูลในรูปแบบตารางหรือแผนภาพที่ทำ�ให้ผู้มีส่วนได้เสียเกิดความเข้าใจได้ง่าย 3. สรุปผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ คณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการชุดย่อยอื่น ๆ เช่น คณะกรรมการด้านบรรษัทภิบาลได้สรุปผลการติดตามให้องค์กรมีการปฏิบัติตามนโยบาย การกำ�กับดูแลกิจการ การทบทวนนโยบายการกำ�กับดูแลกิจการ รวมถึงเรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) เป็นต้น 4. สรุปผลการติดตามแผนการสืบทอดตำ�แหน่ง (ถ้ามี) โดยแสดงให้เห็นถึงบทบาทของคณะกรรมการ ในการเตรียมความพร้อมของบุคลากรที่มีภายในองค์กรให้สามารถดำ�รงตำ�แหน่งงานที่สำ�คัญของ องค์กรเมื่อตำ�แหน่งนั้นว่างลง เพื่อให้การปฏิบัติงานและบริหารจัดการองค์กรเป็นไปอย่างต่อเนื่อง 72 ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) GRI Standards SDGs การสรรหากรรมการ G1.18C GRI 102-24: Goal 16: นโยบายและหลักเกณฑ์การสรรหา Nominating Peace, กรรมการที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับ and selecting Justice กลยุทธ์องค์กร the highest and Strong governance Institutions G1.19C body การวิเคราะห์ทักษะและประสบการณ์ ของกรรมการตามลักษณะของธุรกิจ (board skill matrix) G1.20C ประวัติของกรรมการที่ได้รับการ แต่งตั้งใหม่ ทำ�ไมบริษัทควรรายงาน • การสรรหากรรมการบริษัท สะท้อนให้เห็นถึงความชัดเจนและความโปร่งใสของกระบวนการคัดเลือกบุคลากร เพื่อมาดำ�รง ตำ�แหน่งกรรมการบริษัทที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะที่จำ�เป็น และสอดคล้องกับทิศทาง การดำ�เนินธุรกิจ นอกจากนี้ ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของกรรมการที่หลากหลาย จะทำ�ให้ เกิดมุมมองใหม่ในการขับเคลื่อนธุรกิจ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการทำ�งานร่วมกับฝ่ายจัดการและ ผู้มีส่วนได้เสีย แนวทางการรายงาน บริษัทควรเปิดเผยข้อมูล ดังนี้ 1. สรุปสาระสำ�คัญของนโยบายและหลักเกณฑ์ที่แสดงให้เห็นว่า คณะกรรมการให้ความสำ�คัญกับ กระบวนการคัดเลือกกรรมการจากความหลากหลายด้านอายุ เพศ ความรู้ ประสบการณ์ และ ความเชี่ยวชาญที่จำ�เป็นต่อการดำ�เนินธุรกิจ รวมทั้งคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ กรรมการ โดยได้นำ�เสนอผลของการสรรหาและแต่งตั้งกรรมการใหม่ให้ผู้ถือหุ้นพิจารณาให้ ความเห็นชอบอย่างโปร่งใส 2. สรุปผลการวิเคราะห์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของกรรมการ ที่เป็นประโยชน์กับธุรกิจ (board skill matrix) โดยสังเขป บริษัทสามารถแสดงข้อมูลได้ในรูปแบบ ของตารางหรือรูปแบบอื่นตามที่บริษัทเห็นว่าเหมาะสม 3. รายชื่อ ประวัติ และข้อมูลเกี่ยวกับกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ในรอบปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม หากระบุอยู่ในรายชื่อ ประวัติ และข้อมูลเกี่ยวกับการดำ�รงตำ�แหน่งของกรรมการในชุดปัจจุบันแล้ว ให้ระบุว่าท่านใดเป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ในรอบปีที่ผ่านมาด้วย 4. แหล่งศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เช่น - แนวปฏิบัติเรื่องคณะกรรมการสรรหา โดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 73 ภาคผนวก ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) GRI Standards SDGs ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหารระดับสูง G1.21C G1.26R GRI 102-38: Goal 8 : นโยบายและหลักเกณฑ์การจ่าย ค่าตอบแทนอื่นและผลประโยชน์ Annual total Decent ค่าตอบแทนของกรรมการ ระยะยาวของผู้บริหารระดับสูง compensation Work and ratio Economic G1.22C Growth จำ�นวนค่าตอบแทนของกรรมการ รายบุคคล G1.23C ค่าตอบแทนอื่นที่ไม่ใช่ตัวเงิน ของกรรมการ G1.24C นโยบายและหลักเกณฑ์การจ่าย ค่าตอบแทนของผู้บริหารระดับสูง G1.25C จำ�นวนค่าตอบแทนรวมของ ผู้บริหารระดับสูง ทำ�ไมบริษัทควรรายงาน • ข้อมูลเกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนของกรรมการ สะท้อนถึงความชัดเจน โปร่งใส และเหมาะสมกับภาระหน้าที่และขอบเขตความรับผิดชอบของ กรรมการ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้น โดยการจ่ายค่าตอบแทนควรเทียบเคียงได้กับ อุตสาหกรรมหรือบริษัทที่ขนาดใกล้เคียงกัน และอยู่ในระดับที่สามารถดึงดูดกรรมการที่มีความรู้ ความสามารถและปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ให้แก่องค์กร การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทน และผลประโยชน์ระยะยาวอื่น ๆ ของผู้บริหารระดับสูง เพื่อให้เกิดความชัดเจนโปร่งใส เป็นธรรม สะท้อนถึงกระบวนการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารให้บรรลุเป้าหมายที่คณะกรรมการ มอบหมายให้ แนวทางการรายงาน บริษัทควรเปิดเผยข้อมูล ดังนี้ 1.สรุปสาระสำ�คัญของนโยบายและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนของกรรมการในภาพรวม ที่สอดคล้องกับภาระหน้าที่และขอบเขตความรับผิดชอบของกรรมการ ซึ่งได้รับความเห็นชอบ จากผู้ถือหุ้น 74 2. ค่าตอบแทนคณะกรรมการรายคณะและรายบุคคล ได้แก่ - จำ�นวนค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน เช่น ค่าเบี้ยประชุมและโบนัสประจำ�ปี เป็นต้น ทั้งนี้ การกำ�หนด ค่าตอบแทนจะพิจารณาจากค่าตอบแทนกรรมการในระดับที่ใกล้เคียงอุตสาหกรรม ผลประกอบการ ของบริษัทความรับผิดชอบและผลการปฏิบัติหน้าที่ โดยสามารถนำ�ไปวิเคราะห์เปรียบเทียบกับ ความเหมาะสมของผลประกอบการ - ค่าตอบแทนหรือผลประโยชน์ที่ไม่เป็นตัวเงิน เช่น เครื่องมืออุปกรณ์สื่อสาร ค่าสมาชิกภาพของ สมาคม รถยนต์ประจำ�ตำ�แหน่ง เป็นต้น 3. สรุปสาระสำ�คัญของนโยบายและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนของผู้บริหารระดับสูง 4. จำ�นวนค่าตอบแทนรวมของผู้บริหารระดับสูง โดยสามารถนำ�ไปวิเคราะห์เปรียบเทียบกับความเหมาะสม ของผลประกอบการ 5. แหล่งศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เช่น - แนวปฏิบัติเพิ่มเติมเรื่องคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทน โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) GRI Standards SDGs การพัฒนากรรมการ G1.27C G1.28R GRI 102-27: Goal 4: นโยบายเกี่ยวกับแผนพัฒนา ผลการดำ�เนินงานด้านการพัฒนา Collective Quality กรรมการ กรรมการรายบุคคล knowledge Education of highest governance body ทำ�ไมบริษัทควรรายงาน • ธุรกิจต้องรักษาศักยภาพในการแข่งขัน ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คณะกรรมการในฐานะผู้นำ�องค์กรควรได้รับ การเรียนรู้ เพื่อเพิ่มพูนทักษะที่สอดคล้องกับทิศทางองค์กร ตั้งแต่การปฐมนิเทศกรรมการ การฝึก อบรมกรรมการทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ คณะกรรมการซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถอาจถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ที่เป็น ประโยชน์แก่สังคมได้เช่นกัน แนวทางการรายงาน บริษัทควรเปิดเผยข้อมูล ดังนี้ 1. สรุปแผนการพัฒนากรรมการที่สะท้อนถึงการพัฒนาความรู้ ทักษะ และศักยภาพ เพื่อช่วยให้กรรมการ สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับทิศทางการดำ�เนินธุรกิจ 2. ผลการพัฒนาจากกิจกรรมส่งเสริมความรู้ของกรรมการรายบุคคล เช่น การอบรม สัมมนา ศึกษา ดูงาน รวมถึงการเป็นวิทยากร หรือผู้ถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้ โดยแสดงข้อมูลที่สำ�คัญ เช่น รายชื่อกรรมการที่ได้รับการอบรม ชื่อกิจกรรม/ชื่อหลักสูตร วัตถุประสงค์การพัฒนา และวันที่เข้าร่วม กิจกรรมดังกล่าว เป็นต้น 75 ภาคผนวก ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) GRI Standards SDGs การประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง G1.29C G1.32R GRI 102-28: Goal 16: หลักเกณฑ์การประเมินผลการ ผลประเมินการปฏิบัติหน้าที่ Evaluating Peace, ปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ของกรรมการแบบรายบุคคล the highest Justice governance and Strong body’s Institutions G1.30C G1.33R performance ผลประเมินการปฏิบัติหน้าที่ของ หลักเกณฑ์การประเมินผล คณะกรรมการแบบรายคณะ การปฏิบัติหน้าที่ ของกรรมการผู้จัดการ G1.31C ผลประเมินการปฏิบัติหน้าที่ของ คณะกรรมการชุดย่อยแต่ละชุด ทำ�ไมบริษัทควรรายงาน • ข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ สะท้อนให้เห็นถึงหลักเกณฑ์และแนวทางการวัดผลการปฏิบัติงานของกรรมการทั้งแบบรายคณะ และรายบุคคล ซึ่งเป็นช่องทางสำ�คัญในการให้ข้อคิดเห็น เพื่อปรับปรุงการดำ�เนินงานของ คณะกรรมการต่อไป • องค์กรควรกำ�หนดให้มีหลักเกณฑ์และรูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการผู้จัดการ ซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุด เพื่อให้เกิดความชัดเจน โปร่งใส และเป็นธรรม รวมทั้งเป็นประโยชน์ในการ ปรับปรุงและพัฒนาต่อไป ทั้งนี้ องค์กรควรแสดงให้เห็นว่ามีการรายงานผลการดำ�เนินงานด้าน ความยั่งยืน ทั้งในลักษณะ financial และ non-financial ต่อคณะกรรมการ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ ตัวชี้วัดในการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการผู้จัดการหรือผู้บริหารระดับสูง แนวทางการรายงาน บริษัทควรเปิดเผยข้อมูล ดังนี้ 1. สรุปหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการรายคณะและรายบุคคลที่สะท้อน ถึงระดับของผลลัพธ์และความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการจากการประเมินตนเอง และประเมินแบบไขว้ โดยแสดงให้เห็นว่ามีการนำ�ผลประเมินและข้อคิดเห็นต่าง ๆ ไปพัฒนาปรับปรุง ทั้งในด้านองค์ประกอบและความเป็นอิสระ กระบวนการทำ�งาน บทบาทหน้าที่ และการติดตามดูแล ผลการดำ�เนินงาน ทั้งนี้ การประเมินคณะกรรมการเป็นรายบุคคลอาจมีหลักเกณฑ์เพิ่มเติมที่ แตกต่างกัน เช่น ความทุ่มเทในการปฏิบัติหน้าที่ ความรู้ความสามารถ การทำ�งานร่วมกันเป็นทีมและ จรรยาบรรณของกรรมการบริษัท เป็นต้น 2. ผลการประเมินคณะกรรมการทั้งรายคณะและรายบุคคล และผลการประเมินคณะกรรมการชุดย่อย ควรนำ�เสนอในรูปแบบของข้อมูลเชิงปริมาณที่อาจเป็นจำ�นวนเต็ม หรือร้อยละ หรือช่วงคะแนน เพื่อให้ สามารถนำ�ไปวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการประเมินย้อนหลังได้ 76 3. สรุปหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการผู้จัดการและ/หรือผู้บริหารระดับสูง โดยแสดงให้เห็นถึงตัวชี้วัดและเป้าหมายของการทำ�งานอย่างชัดเจน เช่น ความเป็นผู้นำ�ผลการ ดำ�เนินงานตามแผนกลยุทธ์ ความสัมพันธ์กับคณะกรรมการและผู้มีส่วนได้เสีย เป็นต้น 4. ผลการประเมินกรรมการผู้จัดการและ/หรือผู้บริหารระดับสูง ควรนำ�เสนอในรูปแบบของข้อมูล เชิงปริมาณที่อาจเป็นจำ�นวนเต็ม หรือร้อยละ หรือช่วงคะแนน เพื่อให้สามารถนำ�ไปวิเคราะห์เปรียบเทียบ ผลการประเมินย้อนหลังได้ (ถ้ามี) 5. แหล่งศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เช่น - หลักการกำ�กับดูแลกิจการที่ดีสำ�หรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560 (CG Code) โดยสำ�นักงาน คณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ - ตัวอย่างแบบประเมินตนเองของคณะกรรมการ โดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) GRI Standards SDGs จรรยาบรรณธุรกิจ G1.34C G1.38R GRI 102-17: Goal 16: จรรยาบรรณธุรกิจ มาตรการป้องกันการละเมิด Mechanisms Peace, (code of conduct) จรรยาบรรณธุรกิจ for advice and Justice concerns and Strong about ethics Institutions G1.35C นโยบายและแนวปฏิบัติการต่อต้าน การทุจริตคอร์รัปชัน G1.36C จำ�นวนกรณีการละเมิดจรรยาบรรณ ธุรกิจ หรือการทุจริตคอร์รัปชัน พร้อมมาตรการแก้ไข G1.37C นโยบายและแนวปฏิบัติการจัดการ ข้อร้องเรียนและแจ้งเบาะแส (whistle blowing) ทำ�ไมบริษัทควรรายงาน • ข้อมูลเกี่ยวกับจรรยาบรรณธุรกิจและการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน สะท้อนถึงวัฒนธรรมการส่งเสริมให้คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานมีความตระหนักในการ ปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันการละเมิดที่อาจทำ�ให้เกิดความเสียหายแก่ธุรกิจ แสดงถึงการดำ�เนินธุรกิจ อย่างโปร่งใส และประสิทธิภาพการควบคุมภายในขององค์กร 77 ภาคผนวก • ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายและแนวปฏิบัติการจัดการข้อร้องเรียนและแจ้งเบาะแส (whistle blowing) แสดงให้เห็นว่าบริษัทมีกลไกและช่องทางรับข้อร้องเรียน หรือแจ้งเบาะแสจากพนักงานและ ผู้มีส่วนได้เสีย กรณีถูกละเมิดหรือพบเห็นการกระทำ�ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย/ระเบียบ/จรรยาบรรณ ธุรกิจของบริษัท อีกทั้งยังทำ�ให้มั่นใจว่าบริษัทมีมาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแส และเก็บรักษาข้อมูลเป็นความลับ เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิของบุคคล แนวทางการรายงาน บริษัทควรเปิดเผยข้อมูล ดังนี้ 1. สรุปสาระสำ�คัญของจรรยาบรรณและนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน รวมทั้งแนวปฏิบัติ ที่ส่งเสริมให้เกิดความรู้และการปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าว ทั่วทั้งองค์กร 2. จำ�นวนเหตุการณ์หรือข้อร้องเรียนที่เกิดจากการละเมิดจรรยาบรรณธุรกิจและทุจริตคอร์รัปชัน พร้อมอธิบายมาตรการแก้ไขและเยียวยา 3. สรุปสาระสำ�คัญของนโยบายและแนวปฏิบัติการจัดการข้อร้องเรียนและแจ้งเบาะแส (whistle blowing) โดยแสดงให้เห็นช่องทางการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน เช่น เว็บไซต์ อีเมล หรือช่องทางอื่น ๆ ที่ผู้ร้องเรียนและแจ้งเบาะแสสามารถเข้าถึงได้ง่าย เป็นต้น พร้อมแสดงกลไกการรับเรื่องร้องเรียน และมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียนโดยสังเขป 4. สรุปสาระสำ�คัญของมาตรการป้องกันการละเมิดจรรยาบรรณธุรกิจ 5. แหล่งศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เช่น - แนวปฏิบัติในการจัดทำ�จรรยาบรรณธุรกิจ โดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย - โครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (Thai Private Sector Collective Action Against Corruptionหรือ CAC) - แนวทางการจัดทำ�นโยบายและวิธีปฏิบัติการแจ้งเบาะแส (whistle blowing) โดย ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) GRI Standards SDGs G2 นโยบายและกลยุทธ์ความยั่งยืน G2.1C G2.2R GRI 102-55: Goal 12: นโยบายและเป้าหมาย ประเด็นสำ�คัญด้านความยั่งยืน GRI content Responsible ด้านความยั่งยืนระดับองค์กร ขององค์กร (material topics) index Consumption, Production G2.3R รายงานความยั่งยืน G2.4R มาตรฐานการเปิดเผยข้อมูล ผลการดำ�เนินงานด้านความยั่งยืน เช่น GRI Standards เป็นต้น 78 ทำ�ไมบริษัทควรรายงาน • ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายด้านความยั่งยืนระดับองค์กร สะท้อนถึงเจตนารมณ์และแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อลดผลกระทบ และสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมจากการดำ�เนินธุรกิจ ทั้งนี้ หากบริษัทมีการกำ�หนดเป้าหมายด้านความยั่งยืนระดับ องค์กรด้วย จะยิ่งทำ�ให้เห็นถึงทิศทางและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการสนับสนุนให้นโยบาย ด้านความยั่งยืนระดับองค์กร สามารถวัดและประเมินผลได้อย่างเป็นรูปธรรม • ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นสำ�คัญด้านความยั่งยืน (material topics) แสดงให้เห็นถึงประเด็นทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่บริษัทพิจารณาแล้วว่ามีความสำ�คัญ เร่งด่วน และมีผลกระทบต่อความสามารถในการดำ�เนินธุรกิจ นอกจากนี้ ข้อมูลดังกล่าวยังสะท้อนถึง เรื่องสำ�คัญที่บริษัทและผู้มีส่วนได้เสียมีความสนใจร่วมกัน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการนำ�ไปกำ�หนด ทิศทางและกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียภายใต้บริบทของธุรกิจ • รายงานความยั่งยืน (sustainability report) เป็นเอกสารเผยแพร่ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำ�กับดูแลกิจการของบริษัท เพื่อ ตอบสนองความต้องการใช้ข้อมูลของผู้ลงทุน ผู้ถือหุ้น ลูกค้า ชุมชน และผู้มีส่วนได้เสีย นอกเหนือ จากรายงานทางการเงินและรายงานประจำ�ปีต่าง ๆ ที่อาจไม่ครอบคลุมถึงผลการดำ�เนินธุรกิจ ในภาพรวม โดยรายงานความยั่งยืนเป็นประโยชน์ต่อการติดตามและประเมินผลการดำ�เนินงาน ความเสี่ยงและโอกาสของธุรกิจ อีกทั้งเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำ�ไปพัฒนาธุรกิจ และการตัดสินใจลงทุนต่อไป แนวทางการรายงาน บริษัทควรเปิดเผยข้อมูล ดังนี้ 1. สรุปสาระสำ�คัญของนโยบายและเป้าหมายด้านความยั่งยืนให้ครอบคลุมประเด็นสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำ�กับดูแลกิจการ 2. สรุปแนวทางการประเมินประเด็นสำ�คัญด้านความยั่งยืน (material topics) ซึ่งประกอบด้วย การวิเคราะห์และระบุประเด็นสำ�คัญ การจัดลำ�ดับประเด็นสำ�คัญ 3. ระบุชื่อมาตรฐานหรือหลักการรายงานสากลที่นำ�มาอ้างอิง และปรับใช้กับการเปิดเผยข้อมูลด้าน ความยั่งยืนของบริษัท เช่น GRI Standards, Integrated Report, CDP และ TCFD เป็นต้น 4. แหล่งศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เช่น - GRI Standards - Task Force on Climate-related Financial Disclosures (TCFD) - Integrated Reporting ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) GRI Standards SDGs G3 การบริหารความเสี่ยงด้านความยั่งยืน G3.1C G3.5R GRI 102-15: Goal 16: นโยบายและแนวปฏิบัติ มาตรฐานเกี่ยวกับ Key impacts, Peace, เรื่องการบริหารความเสี่ยง การบริหารความเสี่ยง risks, and Justice ด้านความยั่งยืน ด้านความยั่งยืน opportunities and Strong Institutions 79 ภาคผนวก ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) GRI Standards SDGs G3.2C GRI 102-15: Goal 16: ปัจจัยความเสี่ยงและโอกาสจากประเด็น Key impacts, Peace, ด้านความยั่งยืน (ESG risks) risks, and Justice opportunities and Strong G3.3C Institutions ปัจจัยความเสี่ยงใหม่ (emerging risks) ที่อาจมีผลกระทบต่อธุรกิจในอนาคต อันใกล้ G3.4C แผนบริหารความต่อเนื่องของธุรกิจ เช่น Business Continuity Plan (BCP) เป็นต้น ทำ�ไมบริษัทควรรายงาน • ข้อมูลการบริหารความเสี่ยงด้านความยั่งยืน สะท้อนถึงโอกาสที่อาจเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ หรือการกระทำ�ใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และทำ�ให้การดำ�เนินธุรกิจหรือ โครงการของบริษัทไม่ประสบความสำ�เร็จตามเป้าหมาย ดังนั้น การรายงานข้อมูลเกี่ยวกับนโยบาย และแนวปฏิบัติเรื่องการบริหารความเสี่ยงด้านความยั่งยืน จึงเป็นข้อมูลสำ�คัญที่แสดงให้เห็นว่า องค์กร ได้ตระหนักถึงมาตรการและการควบคุมความเสี่ยงขององค์กรที่เป็นระบบ เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต อีกทั้งยังสะท้อนถึงกระบวนการจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่องค์กร ยอมรับและควบคุมได้ สามารถตรวจสอบและรับมือเมื่อเกิดเหตุการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำ�นึงถึงการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรเป็นสำ�คัญ นอกจากนี้ การบริหารความเสี่ยง ด้านความยั่งยืนที่สอดคล้องกับหลักการ มาตรฐาน หรือแนวปฏิบัติด้านการบริหารความเสี่ยง ด้านความยั่งยืนสากล สะท้อนให้เห็นถึงแนวทางการจัดการความเสี่ยงด้านความยั่งยืนที่ชัดเจน และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล • ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยความเสี่ยงด้านความยั่งยืน สะท้อนถึงสาเหตุและที่มาของความเสี่ยงที่ครอบคลุมประเด็นด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยที่อาจทำ�ให้องค์กรไม่บรรลุเป้าหมายที่กำ�หนดไว้ • ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยความเสี่ยงใหม่ (emerging risks) สะท้อนให้เห็นถึงสาเหตุและการเปลี่ยนแปลงที่กำ�ลังจะเกิดขึ้นต่อการดำ�เนินธุรกิจ การรายงานข้อมูล ปัจจัยความเสี่ยงใหม่ (emerging risks) จะแสดงให้เห็นว่า บริษัทมีการคำ�นึงถึงมาตรการเตรียมธุรกิจ ให้พร้อมสำ�หรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันด้วย • ข้อมูลเกี่ยวกับแผนบริหารความต่อเนื่องของธุรกิจ แสดงถึงการจัดการกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดและเป็นภัยคุกคามต่อองค์กรหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้องค์กรสามารถดำ�เนินกิจกรรมหรือธุรกิจได้อย่างปกติ โดยไม่เกิดการหยุดชะงัก ทั้งนี้ ยังสะท้อนถึง ความสามารถขององค์กรในการกลับมาดำ�เนินธุรกิจ เมื่อประสบภาวะวิกฤตหรือภัยพิบัติ 80 แนวทางการรายงาน บริษัทควรเปิดเผยข้อมูล ดังนี้ 1. สรุปสาระสำ�คัญของนโยบาย แนวปฏิบัติ และกรอบการบริหารความเสี่ยงที่ครอบคลุมประเด็นด้าน สิ่งแวดล้อม สังคม และ/หรือการกำ�กับดูแลกิจการ (ESG) พร้อมระบุมาตรฐานหรือกรอบการบริหาร ความเสี่ยงที่บริษัทนำ�มาใช้เป็นแนวทางในดำ�เนินงาน หรือได้รับการรับรองตามมาตรฐาน เช่น COSO ERM ISO 31000 (ถ้ามี) เป็นต้น 2. สรุปปัจจัยความเสี่ยงด้าน ESG ที่บอกได้ว่าเหตุการณ์นั้นอาจเกิดได้อย่างไร ที่ไหน และเมื่อใด ทั้งนี้ สาเหตุของความเสี่ยงด้านความยั่งยืน การระบุควรเป็นเหตุการณ์ที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น พร้อมอธิบายมาตรการจัดการความเสี่ยงเหล่านั้นโดยสังเขป 3. สรุปปัจจัยความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ (emerging risks) ซึ่งอาจส่งผลต่อการดำ�เนินธุรกิจในระยะสั้น และยาว เช่น ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การขาดแคลนทรัพยากรน้ำ� ความมั่นคง ด้านอาหาร การขยายตัวของสังคมเมือง เป็นต้น พร้อมอธิบายมาตรการจัดการความเสี่ยงเหล่านั้น โดยสังเขป 4. สรุปสาระสำ�คัญของแผนงาน แนวปฏิบัติ หรือมาตรการตอบสนองและบรรเทาความเสี่ยง เพื่อรับมือ กับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น แผนฉุกเฉิน (emergency plan) แผนการจัดการภาวะวิกฤต (crisis management plan) และแผนบริหารความต่อเนื่องในการดำ�เนินธุรกิจ (business continuity plan) ทั้งนี้ ข้อมูลเกี่ยวกับแผนดังกล่าวควรสะท้อนถึงวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายอย่างชัดเจนในการป้องกัน การดําเนินธุรกิจจากภัยพิบัติและอุบัติเหตุต่าง ๆ อย่างครอบคลุม เช่น ไฟไหม้ น้ำ�ท่วม โรคระบาด การประท้วง เป็นต้น 5. แหล่งศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เช่น - The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission (COSO) and the World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) Guidance for Applying Enterprise Risk Management (ERM) to Environmental, Social and Governance (ESG)- related Risks - ISO 31000 - Risk management ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) GRI Standards SDGs G4 การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน G4.1C G4.3R GRI 308: Goal 12: นโยบายและแนวปฏิบัติ ร้อยละของคู่ค้ารายใหม่ของ Supplier Responsible ด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทาน บริษัทที่ผ่านการคัดกรอง Environmental Consumption อย่างยั่งยืน ประเด็นด้านความยั่งยืน Assessment and GRI 414: Production G4.2C G4.4R Supplier Goal 16: แผนบริหารห่วงโซ่อุปทาน จรรยาบรรณคู่ค้าของธุรกิจ Social Peace, อย่างยั่งยืน (supplier code of conduct) Assessment Justice and Strong Institutions 81 ภาคผนวก ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) GRI Standards SDGs G4.5R GRI 308: Goal 12: ร้อยละของคู่ค้ารายสำ�คัญ Supplier Responsible ที่ร่วมลงนามปฏิบัติตาม Environmental Consumption จรรยาบรรณคู่ค้าของธุรกิจ Assessment and GRI 414: Production Supplier Goal 16: Social Peace, Assessment Justice and Strong Institutions ทำ�ไมบริษัทควรรายงาน • ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน สะท้อนถึงกระบวนการดำ�เนินงานระหว่างบริษัทและคู่ค้าที่แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนของการจัดหา วัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง ไปจนถึงการส่งมอบสินค้าหรือบริการไปยังลูกค้า โดยคำ�นึงถึง ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ของบริษัท ซึ่งจะช่วยบรรเทาความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ เช่น การใช้แรงงานผิดกฎหมาย การทุจริตคอร์รัปชัน เป็นต้น อีกทั้งแสดงถึงความพยายามของบริษัทในการส่งเสริมสัมพันธภาพ กับคู่ค้า เพื่อพัฒนาธุรกิจให้เติบโตไปพร้อมกับการขยายผลลัพธ์ที่ดีสู่เศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม เช่น การพัฒนาศักยภาพคู่ค้าอย่างต่อเนื่อง การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (green procurement) เป็นต้น แนวทางการรายงาน บริษัทควรเปิดเผยข้อมูล ดังนี้ 1. สาระสำ�คัญของนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน หรือจรรยาบรรณ ธุรกิจสำ�หรับคู่ค้า (ถ้ามี) ที่แสดงให้เห็นถึงหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างที่ครอบคลุมประเด็น ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี เช่น การจัดซื้อวัตถุดิบ สินค้า และบริการที่เป็น มิตรต่อสิ่งแวดล้อม การไม่ใช้แรงงานเด็กหรือแรงงานทาส เป็นต้น 2. สาระสำ�คัญของแผนการบริหารห่วงโซ่อุปทานของบริษัท พร้อมกำ�หนดเป้าหมายที่ชัดเจน ซึ่งอาจ ครอบคลุมมาตรการบรรเทาความเสี่ยงที่เกิดจากคู่ค้าในด้านเศรษฐกิจ (เช่น การพึ่งพาคู่ค้าน้อยราย การได้รับสินค้า/บริการที่ไม่ได้คุณภาพ) สังคม (เช่น การละเมิดสิทธิมนุษยชน การปฏิบัติต่อพนักงาน และแรงงานอย่างไม่เป็นธรรม) และสิ่งแวดล้อม (เช่น การฝ่าฝืนกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม) 3. จำ�นวนร้อยละของคู่ค้ารายใหม่ที่ผ่านการคัดกรองตามหลักเกณฑ์ การจัดซื้อจัดจ้างที่ครอบคลุม ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี 4. จำ�นวนร้อยละของคู่ค้ารายสำ�คัญที่ร่วมลงนามปฏิบัติตามจรรยาบรรณคู่ค้าของธุรกิจ โดยอาจพิจารณา จากมูลค่าหรือปริมาณการซื้อขายสินค้า/บริการ (ถ้ามี) 5. แหล่งศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เช่น - ISO 20400 Sustainable procurement - Guidance 82 ระดับ Core (C) ระดับ Recommended (R) GRI Standards SDGs G5 การพัฒนานวัตกรรม G5.1C G5.4R - Goal 9: นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับ ประโยชน์จากการพัฒนา Industrial การพัฒนานวัตกรรมระดับองค์กร นวัตกรรม Innovation and Infrastructure G5.2C กระบวนการพัฒนาและส่งเสริม วัฒนธรรมด้านนวัตกรรมขององค์กร G5.3C ค่าใช้จ่ายการทำ�วิจัยและพัฒนา นวัตกรรม ทำ�ไมบริษัทควรรายงาน • ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรม สะท้อนให้เห็นว่า บริษัทมีความพยายามที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างคุณค่า ให้แก่สินค้า บริการ กระบวนการทำ�งาน หรือโมเดลธุรกิจใหม่ โดยสิ่งใหม่นี้อาจยังไม่มีมาก่อน หรือดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัย เมื่อนำ�มาใช้จะช่วยให้การทำ�งานมีประสิทธิภาพ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ เป็นประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ควรสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมด้านนวัตกรรมภายในองค์กร โดยแสดงให้เห็นถึง วิธีการสนับสนุนให้พนักงานมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และนำ�มาประยุกต์ใช้กับงาน หรือสินค้า/ บริการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร แนวทางการรายงาน บริษัทควรเปิดเผยข้อมูล ดังนี้ 1. สาระสำ�คัญของนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมของบริษัท ที่แสดงให้เห็นถึง วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนานวัตกรรมที่สอดคล้องกับทิศทางและการเติบโตของธุรกิจ พร้อมแสดงถึงกระบวนการพัฒนาและแนวทางส่งเสริมนวัตกรรมภายในองค์กร เช่น โครงการ ประกวดนวัตกรรม หลักสูตรส่งเสริมแนวคิดเชิงนวัตกรรม เป็นต้น 2. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทำ�วิจัยและพัฒนา แผนงานกิจกรรม หรือโครงการด้านนวัตกรรมขององค์กร ในรอบปีที่ผ่านมา 3. สรุปประโยชน์หรือผลลัพธ์จากการพัฒนานวัตกรรมในรอบปีที่ผ่านมา (ถ้ามี) เช่น บริษัทพัฒนา นวัตกรรม A โดยสามารถเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า ขณะเดียวกันยังช่วยลดค่าใช้จ่ายพลังงาน ลงได้ 10% คิดเป็นค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่ประหยัดได้ 300,000 บาท และช่วยลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกได้ 5% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยไม่จำ�เป็นต้องเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับ เพื่อลด ความเสี่ยงจากการละเมิดลิขสิทธิ์หรือเสียผลประโยชน์ทางธุรกิจ 4. กรณีที่นวัตกรรมยังไม่เสร็จสมบูรณ์ บริษัทสามารถรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรม ดังกล่าว เช่น บริษัทอยู่ระหว่างการพัฒนานวัตกรรม A สำ�เร็จแล้ว 60% โดยมีแผนจะทดลองใช้ในปีหน้า และคาดว่าจะใช้จริงในปีถัดไป เป็นต้น 83 ภาคผนวก ตารางสรุปผลการดำ�เนินงานตาม SET ESG Metrics มิติสิ่งแวดล้อม E GRI ปีทร่ี ายงาน ปีทร่ี ายงาน ปีทร่ี ายงาน ปีท่ี Code Standards ESG Indicators Unit ย้อ3นหลัง ย้อนหลัง ย้อนหลัง รายงาน ปี 2 ปี 1 ปี E1 นโยบายและการปฏิบัติตามมาตรฐานการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม E1.1C นโยบายและแนวปฏิบัติเรื่องการจัดการ มี/ไม่มี ด้านสิ่งแวดล้อม E1.2C จำ�นวนกรณีหรือเหตุการณ์ละเมิด จำ�นวน กฎหมาย หรือการสร้างผลกระทบด้าน กรณี สิ่งแวดล้อมพร้อมอธิบายมาตรการแก้ไข E1.3R มูลค่าความเสียหายหรือค่าปรับที่เกิด จากการละเมิดกฎหมายหรือการสร้าง บาท ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม GRI E1.4R 103 การปฏิบัติตามหลักการและมาตรฐาน มี/ไม่มี สากลเกี่ยวกับการจัดการพลังงาน E1.5R การปฏิบัติตามหลักการและมาตรฐาน มี/ไม่มี สากลเกี่ยวกับการจัดการนํ้า E1.6R การปฏิบัติตามหลักการและมาตรฐาน มี/ไม่มี สากลเกี่ยวกับการจัดการขยะและของเสีย E1.7R การปฏิบัติตามหลักการและมาตรฐาน มี/ไม่มี สากลเกี่ยวกับการจัดการก๊าซเรือนกระจก หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ E2 การจัดการพลังงาน E2.1C แผนการจัดการพลังงาน มี/ไม่มี E2.2C ปริมาณการใช้พลังงาน (ไฟฟ้า/เชื้อเพลิง) kWh E2.3C GRI ปริมาณการใช้พลังงานทดแทน kWh 302 E2.4R เป้าหมายการจัดการพลังงาน kWh E2.5R ปริมาณการใช้พลังงานต่อหน่วย kWh/ (energy intensity) หน่วย 84 GRI ปีทร่ี ายงาน ปีทร่ี ายงาน ปีทร่ี ายงาน ปีท่ี Code Standards ESG Indicators Unit ย้อ3นหลัง ย้อนหลัง ย้อนหลัง รายงาน ปี 2 ปี 1 ปี E3 การจัดการน้ำ� E3.1C แผนการจัดการน้ำ� มี/ไม่มี E3.2C ปริมาณการใช้น้ำ� ลูกบาศก์ เมตร E3.3R เป้าหมายการใช้น้ำ� ลูกบาศก์ GRI เมตร 303 E3.4R ปริมาณการใช้น้ำ�ต่อหน่วย ลูกบาศก์ (water intensity) เมตร/ หน่วย E3.5R ร้อยละของน้ำ�เสียที่ได้รับการบำ�บัด % ก่อนทิ้ง E4 การจัดการขยะและของเสีย E4.1C แผนการจัดการขยะและของเสีย มี/ไม่มี E4.2C GRI ปริมาณขยะและของเสีย กิโลกรัม E4.3R 306 เป้าหมายการจัดการขยะและของเสีย กิโลกรัม E4.4R ปริมาณขยะและของเสียที่ผ่าน กิโลกรัม กระบวนการ reuse และ/หรือ recycle E5 การจัดการก๊าซเรือนกระจก E5.1C แผนการจัดการก๊าซเรือนกระจก มี/ไม่มี E5.2C ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม tCO2e ของขอบเขตที่ 1 และขอบเขตที่ 2 E5.3C การทวนสอบข้อมูลปริมาณการปล่อย มี/ไม่มี GRI ก๊าซเรือนกระจก โดยหน่วยงานภายนอก 305 E5.4R เป้าหมายการจัดการก๊าซเรือนกระจก tCO2e ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมของ tCO2e E5.5R ขอบเขตที่ 1 ขอบเขตที่ 2 และขอบเขตที่ 3 E5.6R ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก tCO2e ต่อหน่วย (carbon intensity) /หน่วย 85 ภาคผนวก มิติสังคม S GRI ปีทร่ี ายงาน ปีทร่ี ายงาน ปีทร่ี ายงาน ปีท่ี Code Standards ESG Indicators Unit ย้อ3นหลัง ย้อนหลัง ย้อนหลัง รายงาน ปี 2 ปี 1 ปี S1 สิทธิมนุษยชน S1.1C นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิทธิ มี/ไม่มี มนุษยชน S1.2R การประเมินความเสี่ยงจากการละเมิด มี/ไม่มี สิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านในการ GRI ดำ�เนินธุรกิจ (Human Rights Due Diligence: HRDD) พร้อมมาตรการ 412 ป้องกัน S1.3R จำ�นวนเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการละเมิด จำ�นวน สิทธิมนุษยชน พร้อมมาตรการแก้ไข กรณี และเยียวยา S2 การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม การจ้างงาน S2.1C จำ�นวนพนักงานทั้งหมด คน สถิติพนักงานจำ�แนกตามช่วงอายุ ชาย หญิง ชาย หญิง ชาย หญิง ชาย หญิง - อายุน้อยกว่า 30 ปี คน - อายุ 30-50 ปี คน - อายุมากกว่า 50 ปี คน GRI สถิติพนักงานจำ�แนกตามระดับตำ�แหน่ง ชาย หญิง ชาย หญิง ชาย หญิง ชาย หญิง 401 - ระดับปฏิบัติการ คน - ระดับบริหาร คน - ผู้บริหารระดับสูง คน สถิติพนักงานจำ�แนกตามภูมิลำ�เนา ชาย หญิง ชาย หญิง ชาย หญิง ชาย หญิง - กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล คน - ภาคเหนือ คน - ภาคกลาง คน - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คน - ภาคใต้ คน - ภาคตะวันออก คน S2.2C GRI จำ�นวนพนักงานผู้พิการและ/ คน 405 หรือผู้สูงอายุ 86 GRI ปีทร่ี ายงาน ปีทร่ี ายงาน ปีทร่ี ายงาน ปีท่ี Code Standards ESG Indicators Unit ย้อ3นหลัง ย้อนหลัง ย้อนหลัง รายงาน ปี 2 ปี 1 ปี การจ่ายค่าตอบแทนพนักงาน S2.3C จำ�นวนค่าตอบแทนรวมของพนักงาน บาท S2.4C ร้อยละของพนักงานที่เป็นสมาชิก % GRI กองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพ 405 S2.5R ความแตกต่างของค่าตอบแทน หญิง: ระหว่างเพศ ชาย การพัฒนาพนักงาน S2.6C แผนงานหรือกิจกรรมเกี่ยวกับ มี/ไม่มี การพัฒนาพนักงาน S2.7C จำ�นวนชั่วโมงอบรมความรู้เฉลี่ยของ ชม./ พนักงาน คน/ปี S2.8R แผนการพัฒนาพนักงานเป็นส่วนหนึ่ง มี/ไม่มี GRI ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน 404 ประจำ�ปีของพนักงาน S2.9R เป้าหมายการพัฒนาพนักงาน มี/ไม่มี S2.10R จำ�นวนค่าใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาพนักงาน บาท S2.11R ประโยชน์ที่พนักงานและ/หรือองค์กร มี/ไม่มี ได้รับจากการพัฒนาพนักงาน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำ�งาน S2.12C แผนงาน หรือกิจกรรมเกี่ยวกับการ มี/ไม่มี พัฒนาความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำ�งาน S2.13C จำ�นวนเหตุการณ์หรือกรณีบาดเจ็บ ครั้ง จากการทำ�งานถึงขั้นหยุดงาน GRI S2.14R 403 เป้าหมายการพัฒนาความปลอดภัย มี/ไม่มี อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการ ทำ�งาน S2.15R อัตราการบาดเจ็บจากการทำ�งานถึงขั้น ครั้ง/ หยุดงาน (Lost Time Injury Frequency 200,000 Rate: LTIFR) ชม. 87 ภาคผนวก GRI ปีทร่ี ายงาน ปีทร่ี ายงาน ปีทร่ี ายงาน ปีท่ี Code Standards ESG Indicators Unit ย้อ3นหลัง ย้อนหลัง ย้อนหลัง รายงาน ปี 2 ปี 1 ปี การส่งเสริมความสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมกับพนักงาน S2.16C แผนการพัฒนาความผูกพัน มี/ไม่มี และการรักษาพนักงาน S2.17C ร้อยละของพนักงานที่ลาออก % โดยสมัครใจ S2.18C GRI จำ�นวนข้อพิพาทด้านแรงงานที่สำ�คัญ จำ�นวน พร้อมมาตรการแก้ไข กรณี 402 S2.19R GRI เป้าหมายการพัฒนาความผูกพันและ มี/ไม่มี 407 การรักษาพนักงาน S2.20R ผลประเมินความผูกพันของพนักงาน มี/ไม่มี ต่อองค์กร S2.21R การรวมกลุ่มของพนักงานเพื่อเจรจา มี/ไม่มี หารือกับบริษัทเกี่ยวกับผลประโยชน์และ สวัสดิการของพนักงาน S3 ความรับผิดชอบต่อลูกค้า/ผู้บริโภค สิทธิผู้บริโภค S3.1C นโยบายและแนวปฏิบัติเรื่องการรักษา มี/ไม่มี ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า S3.2C จำ�นวนกรณีข้อมูลลูกค้ารั่วไหล จำ�นวน พร้อมมาตรการแก้ไข กรณี S3.3C GRI จำ�นวนเหตุการณ์หรือข้อร้องเรียน จำ�นวน 102-43 ที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิผู้บริโภค กรณี พร้อมมาตรการแก้ไข GRI S3.4R 418 ช่องทางที่บริษัทรับข้อร้องเรียน มี/ไม่มี จากลูกค้า/ผู้บริโภค S3.5R แผนการพัฒนาความพึงพอใจของลูกค้า มี/ไม่มี S3.6R เป้าหมายการพัฒนาความพึงพอใจ มี/ไม่มี ของลูกค้า S3.7R ผลประเมินความพึงพอใจของลูกค้า มี/ไม่มี 88 GRI ปีทร่ี ายงาน ปีทร่ี ายงาน ปีทร่ี ายงาน ปีท่ี Code Standards ESG Indicators Unit ย้อ3นหลัง ย้อนหลัง ย้อนหลัง รายงาน ปี 2 ปี 1 ปี การตลาดและโฆษณาอย่างรับผิดชอบ S3.8R แนวปฏิบัติด้านการตลาดและโฆษณา มี/ไม่มี อย่างรับผิดชอบ GRI S3.9R 417 แนวปฏิบัติการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับ มี/ไม่มี ผลกระทบของสินค้าและบริการแก่ ลูกค้า/ผู้บริโภค S4 ความรับผิดชอบต่อชุมชน/สังคม S4.1C นโยบายการพัฒนาและมีส่วนร่วมกับ มี/ไม่มี ชุมชน/สังคมที่อาจได้รับผลกระทบ จากธุรกิจ S4.2C แผนส่งเสริมการพัฒนาและมีส่วนร่วม มี/ไม่มี กับชุมชน/สังคมที่อาจได้รับผลกระทบ จากธุรกิจ S4.3C จำ�นวนข้อพิพาทกับชุมชน/สังคม จำ�นวน พร้อมมาตรการแก้ไข กรณี GRI 413 S4.4R เป้าหมายการพัฒนาและมีส่วนร่วมกับ มี/ไม่มี ชุมชน/สังคมที่อาจได้รับผลกระทบ จากธุรกิจ S4.5R ประโยชน์จากโครงการหรือกิจกรรม มี/ไม่มี เพื่อการพัฒนาและช่วยเหลือชุมชน/ สังคม S4.6R จำ�นวนเงินรวมที่ใช้ในโครงการหรือ บาท กิจกรรมเพื่อการพัฒนาและช่วยเหลือ ชุมชน/สังคม 89 ภาคผนวก มิติบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ G GRI ปีทร่ี ายงาน ปีทร่ี ายงาน ปีทร่ี ายงาน ปีท่ี Code Standards ESG Indicators Unit ย้อ3นหลัง ย้อนหลัง ย้อนหลัง รายงาน ปี 2 ปี 1 ปี G1 นโยบาย โครงสร้าง และระบบกำ�กับดูแลกิจการ องค์ประกอบของคณะกรรมการ G1.1C ประวัติของคณะกรรมการบริษัท มี/ไม่มี รายบุคคล G1.2C จำ�นวนกรรมการทั้งคณะ คน G1.3C จำ�นวนกรรมการอิสระ คน G1.4C จำ�นวนกรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร คน G1.5C จำ�นวนกรรมการหญิง คน GRI G1.6C 102-18 ประธานกรรมการเป็นกรรมการอิสระ ใช่/ไม่ใช่ G1.7C ประธานกรรมการและกรรมการ ใช่/ไม่ใช่ ผู้จัดการไม่เป็นบุคคลเดียวกัน จำ�นวนกรรมการอิสระในคณะกรรมการ คน G1.8C ชุดย่อยแต่ละชุด ประธานของคณะกรรมการชุดย่อย ใช่/ไม่ใช่ G1.9C แต่ละชุดเป็นกรรมการอิสระ จำ�นวนปีการดำ�รงตำ�แหน่ง ปี G1.10C ของกรรมการรายบุคคล บทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมการ G1.11C จำ�นวนครั้งการประชุม ครั้ง ของคณะกรรมการ G1.12C ผลการดำ�เนินงาน มี/ไม่มี GRI ของคณะกรรมการบริษัท G1.13C 102-26 จำ�นวนครั้งการประชุม ครั้ง ของคณะกรรมการตรวจสอบ G1.14C ผลการดำ�เนินงาน มี/ไม่มี ของคณะกรรมการตรวจสอบ 90 GRI ปีทร่ี ายงาน ปีทร่ี ายงาน ปีทร่ี ายงาน ปีท่ี Code Standards ESG Indicators Unit ย้อ3นหลัง ย้อนหลัง ย้อนหลัง รายงาน ปี 2 ปี 1 ปี G1.15C จำ�นวนครั้งการประชุม ครั้ง ของคณะกรรมการชุดย่อยแต่ละชุด G1.16C GRI ผลการดำ�เนินงาน มี/ไม่มี 102-26 ของคณะกรรมการชุดย่อยแต่ละชุด G1.17R ผลการปฏิบัติตามแผน มี/ไม่มี การสืบทอดตำ�แหน่ง การสรรหากรรมการ G1.18C นโยบายและหลักเกณฑ์การสรรหา มี/ไม่มี กรรมการที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับ กลยุทธ์องค์กร G1.19C GRI การวิเคราะห์ทักษะและประสบการณ์ มี/ไม่มี 102-24 ของกรรมการตามลักษณะของธุรกิจ (board skill matrix) G1.20C ประวัติของกรรมการที่ได้รับ มี/ไม่มี การแต่งตั้งใหม่ ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหารระดับสูง G1.21C นโยบายและหลักเกณฑ์การจ่าย มี/ไม่มี ค่าตอบแทนของกรรมการ G1.22C จำ�นวนค่าตอบแทนของกรรมการ บาท รายบุคคล G1.23C ค่าตอบแทนอื่นที่ไม่ใช่ตัวเงิน มี/ไม่มี ของกรรมการ G1.24C GRI 102-38 นโยบายและหลักเกณฑ์การจ่าย ค่าตอบแทนของผู้บริหารระดับสูง มี/ไม่มี G1.25C จำ�นวนค่าตอบแทนรวมของผู้บริหาร บาท ระดับสูง G1.26R ค่าตอบแทนอื่นและผลประโยชน์ มี/ไม่มี ระยะยาวของผู้บริหารระดับสูง การพัฒนากรรมการ G1.27C นโยบายเกี่ยวกับแผนพัฒนากรรมการ มี/ไม่มี GRI G1.28R 102-27 ผลการดำ�เนินงานด้านการพัฒนา มี/ไม่มี กรรมการรายบุคคล 91 ภาคผนวก GRI ปีทร่ี ายงาน ปีทร่ี ายงาน ปีทร่ี ายงาน ปีท่ี Code Standards ESG Indicators Unit ย้อ3นหลัง ย้อนหลัง ย้อนหลัง รายงาน ปี 2 ปี 1 ปี การประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง G1.29C หลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติ มี/ไม่มี หน้าที่ของคณะกรรมการ G1.30C ผลประเมินการปฏิบัติหน้าที่ มี/ไม่มี ของคณะกรรมการแบบรายคณะ G1.31C GRI ผลประเมินการปฏิบัติหน้าที่ มี/ไม่มี 102-28 ของคณะกรรมการชุดย่อยแต่ละชุด G1.32R ผลประเมินการปฏิบัติหน้าที่ มี/ไม่มี ของกรรมการแบบรายบุคคล G1.33R หลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติ มี/ไม่มี หน้าที่ของกรรมการผู้จัดการ จรรยาบรรณธุรกิจ G1.34C จรรยาบรรณธุรกิจ (code of conduct) มี/ไม่มี G1.35C นโยบายและแนวปฏิบัติการต่อต้าน มี/ไม่มี การทุจริตคอร์รัปชัน G1.36C จำ�นวนกรณีการละเมิดจรรยาบรรณ จำ�นวน GRI ธุรกิจ หรือการทุจริตคอร์รัปชัน พร้อมมาตรการแก้ไข กรณี 102-17 G1.37C นโยบายและแนวปฏิบัติการจัดการ มี/ไม่มี ข้อร้องเรียนและแจ้งเบาะแส (whistle blowing) G1.38R มาตรการป้องกันการละเมิด มี/ไม่มี จรรยาบรรณธุรกิจ G2 นโยบายและกลยุทธ์ความยั่งยืน G2.1C นโยบายและเป้าหมายด้านความยั่งยืน มี/ไม่มี ระดับองค์กร G2.2R ประเด็นสำ�คัญด้านความยั่งยืนของ มี/ไม่มี GRI องค์กร (material topics) G2.3R 102-55 รายงานความยั่งยืน มี/ไม่มี G2.4R มาตรฐานการเปิดเผยข้อมูล มี/ไม่มี ผลการดำ�เนินงานด้านความยั่งยืน เช่น GRI Standards เป็นต้น 92 GRI ปีทร่ี ายงาน ปีทร่ี ายงาน ปีทร่ี ายงาน ปีท่ี Code Standards ESG Indicators Unit ย้อ3นหลัง ย้อนหลัง ย้อนหลัง รายงาน ปี 2 ปี 1 ปี G3 การบริหารความเสี่ยงด้านความยั่งยืน G3.1C นโยบายและแนวปฏิบัติเรื่องการบริหาร มี/ไม่มี ความเสี่ยงด้านความยั่งยืน G3.2C ปัจจัยความเสี่ยงและโอกาสจาก มี/ไม่มี ประเด็นด้านความยั่งยืน (ESG risks) G3.3C GRI ปัจจัยความเสี่ยงใหม่ (emerging risks) มี/ไม่มี 102-15 ที่อาจมีผลกระทบต่อธุรกิจในอนาคต อันใกล้ G3.4C แผนบริหารความต่อเนื่องของธุรกิจ เช่น มี/ไม่มี Business Continuity Plan (BCP) เป็นต้น G3.5R มาตรฐานเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง มี/ไม่มี ด้านความยั่งยืน G4 การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน G4.1C นโยบายและแนวปฏิบัติด้านการจัดการ มี/ไม่มี ห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน G4.2C แผนบริหารห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน มี/ไม่มี G4.3R GRI 308 ร้อยละของคู่ค้ารายใหม่ของบริษัท % ที่ผ่านการคัดกรองประเด็น GRI ด้านความยั่งยืน G4.4R 414 จรรยาบรรณคู่ค้าของธุรกิจ มี/ไม่มี (supplier code of conduct) G4.5R ร้อยละของคู่ค้ารายสำ�คัญที่ร่วมลงนาม % ปฏิบัติตามจรรยาบรรณคู่ค้าของธุรกิจ G5 การพัฒนานวัตกรรม G5.1C นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับ มี/ไม่มี การพัฒนานวัตกรรมระดับองค์กร G5.2C กระบวนการพัฒนาและส่งเสริม มี/ไม่มี - วัฒนธรรมด้านนวัตกรรมขององค์กร G5.3C ค่าใช้จ่ายการทำ�วิจัยและพัฒนา บาท นวัตกรรม G5.4R ประโยชน์จากการพัฒนานวัตกรรม มี/ไม่มี 93 สรุปภาพรวม คู่มือการรายงานความยั่งยืน สำ�หรับบริษัทจดทะเบียน วิเคราะห์ เตรียมการ เก็บข้อมูล 1 3 1.1 3.1 กำ�หนดขอบเขตการรายงาน โดยพิจารณา สื่อสารกับหน่วยงานเจ้าของข้อมูล จากลั ก ษณะกิ จ การและพื้ น ที่ ตั้ ง ของธุ ร กิ จ เพือ่ เตรียมติดตามและเก็บรวบรวม ที่ มี ผ ลกระทบสู ง ต่ อ ประเด็ น ด้ า นสั ง คมและ ข้อมูลสำ�หรับรายงาน สิ่งแวดล้อม 3.2 1.2 คณะทำ�งานด้านการรายงาน พิจารณาและคัดเลือกข้อมูลทีจ่ ะนำ�มารายงาน ความยั่งยืนรวบรวมข้อมูล ตามหลักการ 4 ข้อ ได้แก่ สำ�คัญ - ทันการณ์ ตามเค้าโครงและตัวชี้วัด - เชื่อถือได้ - เปรียบเทียบได้ ที่กำ�หนด 2 2.1 ตั้งคณะทำ�งานด้านการรายงานความยั่งยืน 2.2 สำ�รวจความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย 2.3 กำ�หนดและจัดลำ�ดับประเด็นสำ�คัญด้านความยั่งยืน (Material Topics) 2.4 กำ�หนดเค้าโครงและตัวชี้วัดของประเด็นที่จะรายงาน เขียน ตรวจสอบ เผยแพร่ รายงาน 4 6 ประกอบด้วยข้อมูล 3 ส่วน 6.1 4.1 ช่องทาง เผยแพร่ข้อมูลเป็นส่วนหนึ่ง ข้อมูลพื้นฐานของบริษัท ได้แก่ ลักษณะ ของรายงานประจำ�ปี หรือแยกเป็นรายงาน การประกอบธุรกิจ ห่วงโซ่คุณค่า และผู้มีส่วนได้เสีย ความยั่งยืน หรือเผยแพร่บนเว็บไซต์ ของบริษัท 4.2 นโยบายและกลยุทธ์ ได้แก่ นโยบายและเป้าหมาย 6.2 ด้านความยัง่ ยืน และประเด็นสำ�คัญด้านความยัง่ ยืน รูปแบบ ไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ หรือสิ่งพิมพ์ 4.3 6.3 ผลการดำ�เนินงาน ได้แก่ เป้าหมายของแต่ละประเด็น การนำ�เสนอ นำ�เสนอด้วยภาษา สำ�คัญด้านความยั่งยืน แนวทางดำ� เนินงาน และ ที่เข้าใจง่าย เป็นข้อมูลภาพ (infographic) ตัวชี้วัดผลดำ�เนินงาน (ESG Metrics) หรือแผนภาพ 5 5.1 ตรวจสอบและกลั่นกรองรายงาน โดยฝ่ายงานภายในและรับรองความถูกต้อง โดยหน่วยงานภายนอก 5.2 นำ�เสนอรายงานให้คณะกรรมการและผู้บริหารอนุมัติก่อนเผยแพร่ 95 กลุ่มงานพัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อีเมล SRcenter@set.or.th www.set.or.th